google search

Google

สามารถแสดงความคิดเห็นได้ที่นี่เลย

clock

ปฏิทิน

Blog Archive

เทคโนโลยีทันสมัย

ภาพถ่ายนักเรียนน่ารักๆ-วัยรุ่น-นักศึกษา-นางแบบ-ดารา

สาวสวยเซ็กซี่-สาวน่ารัก

วิทยาศาสตร์

รูปแปลก-ภาพแปลก-ภาพขำขำ

เรื่องน่ารู้ทั่วไป

สัตว์บก-สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ -สัตว์น้ำ -สัตว์ปีก -สัตว์เลื้อยคลาน -สัตว์ในวรรณคดี

BlogRoll

7 สิ่งมหัศจรรย์ยุคกลาง

7 สิ่งมหัศจรรย์ยุคปัจจุบัน

จระเข้ประหลาดในยุคครีเตรเซียส

Miami : สวรรค์...หรือดินแดนอาชญากรรม

ไขปริศนาปลาพญานาค

7 สิ่งมหัศจรรย์ยุคโบราณ

การกลับมาของ "อเล็กเซย์" เมื่อราชวงศ์โรมานอฟได้คืนชีพ ?!

ปลาหมึกยักษ์ อสูรร้ายใต้สมุทร

แกะปมปริศนาลำแสงมรณะของอาร์คิมิดีส

ความเชื่อในสิ่งลึกลับ : หมอผีวูดู

นอสตราดามุส ผู้หยั่งรู้ฟ้าดิน

The Witch Hunts : การล่าแม่มด

ตำนานแม่มดแห่งเมือง Blair

flag

free counters

เรียวมะ ซาคาโมโต : บุรุษทรนง

ยอดชู้รักแห่งประวัติศาสตร์

ตำนานมนุษย์หมาป่า

สยามประเทศ ก่อนปรากฏบนแผนที่โลก

การกลับมาของโรคระบาด

ตามหา"ไอ้ตีนโต" มนุษย์วานรดึกดำบรรพ์

มหันตภัยธรรมชาติในอนาคต

มังกรมีจริงหรือเพียงแค่ตำนาน ?

สูตรลึกลับของเครื่องดื่ม โคคา-โคล่า

ปริศนารูปถ่ายของยูนิคอร์น

ภาพถ่ายวิญญาณจากต่างแดน

ภาพถ่ายวิญญาณ (ภาค2)

ภาพถ่ายศพนางเงือก

ปริศนาสามเหลี่ยมเบอร์มิวด้า

ภาพถ่ายวิญญาณ

เรื่องสยองที่ abac

ภาพถ่ายวิญญาณของไทย

ผีในการท่องเที่ยว

ซุปเด็กสุดสยอง

สิ่งก่อสร้างที่น่ามหัศจรรย์ของโลก

ตัวอะไรเนี่ย

photo หน้า...น่าเกลียด

15 โรงแรมแปลก แหวกแนวสุดยอด

''โคลอสเซียม'' : สังเวียนแห่งความตาย

1 วัน ไม่ได้มี 24 ชั่วโมง ( A day is 23 hours 56 minutes 4 seconds )

"นาซ่า"มั่นใจดาวอังคาร เคยมีน้ำ-เดินหน้าหาสิ่งมีชีวิต

ว่าด้วยเรื่องแปลกๆ ของไก่

เปิดตำนานกรุสมบัติวัดราชบูรณะ

อาถรรพณ์ปูโสม : วิญญาณเฝ้าทรัพย์

นักเล่านิทานบันลือโลก

มัมมี่แห่งศตวรรษที่ 21

ไดโนเสาร์สูญพันธุ์เพราะเหตุใด ?

ผู้ติดตาม

friend

วันจันทร์ที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2553




ชื่อไทย
กระแหทอง, กระแห, ตะเพียนหางแดง, เลียนไฟ, ลำปำ
ชื่อสามัญ
SCHWANENFELD'S TINFOIL BARB
ชื่อวิทยาศาสตร์
Puntius schwanenfeldi (Bleeker)
ถิ่นอาศัย
พบตามแม่น้ำ ลำคลอง หนองบึงทั่วทุกภาค ทำให้มีชื่อเรียกแตกต่างกันไปตามภาษาท้องถิ่น เช่นพบในภาคกลางเรียกกระแห ตะเพียนหางแดง หรือกระแหทอง ทางปักษ์ใต้เรียกปลาลำปำ ส่วนภาคอีสานเรียก ปลาเลียนไฟ
อาหาร
พันธุ์ไม้น้ำ ตังอ่อนแมลงน้ำ ซากสัตว์และพืชที่เน่าเปื่อย
ขนาด
ความยาวตั้งแต่ 15-35 เซนติเมตร
ประโยชน์
ใช้เป็นอาหารได้ นอกจากนั้นยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม

--------------------------------------------------------------------------------

ที่มา : กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
จัดเตรียมโดย : ประวิทย์ สุรนีรนาถ คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

--------------------------------------------------------------------------------




ชื่อไทย
กระแหทอง, กระแห, ตะเพียนหางแดง, เลียนไฟ, ลำปำ
ชื่อสามัญ
SCHWANENFELD'S TINFOIL BARB
ชื่อวิทยาศาสตร์
Puntius schwanenfeldi (Bleeker)
ถิ่นอาศัย
พบตามแม่น้ำ ลำคลอง หนองบึงทั่วทุกภาค ทำให้มีชื่อเรียกแตกต่างกันไปตามภาษาท้องถิ่น เช่นพบในภาคกลางเรียกกระแห ตะเพียนหางแดง หรือกระแหทอง ทางปักษ์ใต้เรียกปลาลำปำ ส่วนภาคอีสานเรียก ปลาเลียนไฟ
อาหาร
พันธุ์ไม้น้ำ ตังอ่อนแมลงน้ำ ซากสัตว์และพืชที่เน่าเปื่อย
ขนาด
ความยาวตั้งแต่ 15-35 เซนติเมตร
ประโยชน์
ใช้เป็นอาหารได้ นอกจากนั้นยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม

--------------------------------------------------------------------------------

ที่มา : กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
จัดเตรียมโดย : ประวิทย์ สุรนีรนาถ คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

--------------------------------------------------------------------------------




ชื่อไทย
กระสูบจุด
ชื่อสามัญ
EYE-SPOT BARB
ชื่อวิทยาศาสตร์
Hampala dispar Smith
ถิ่นอาศัย
พบในแม่น้ำ ลำคลอง หนองและบึง ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น แม่น้ำมูลที่อุบลราชธานี หนองหานจังหวัดสกลนคร แม่น้ำศรีสงครามจังหวัดนครพนม และห้วยหลวงจังหวัดอุดรราชธานี
อาหาร
กินลูกกุ้ง ลูกปลาซึ่งมีขนาดเล็กกว่า
ขนาด
ความยาวประมาณ 11-20 เซนติเมตร
ประโยชน์
เป็นอาหารได้ทั้งสดและดองทำเป็นปลาร้า ปลาเจ่า

--------------------------------------------------------------------------------

ที่มา : กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
จัดเตรียมโดย : ประวิทย์ สุรนีรนาถ คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

--------------------------------------------------------------------------------




ชื่อไทย
กระสง
ชื่อสามัญ
BLOTCHED SNAKE-HEAD FISH
ชื่อวิทยาศาสตร์
Channa lucius Fowler
ถิ่นอาศัย
พบทั่วไปตามแม่น้ำ ลำคลอง หนองบึง มีชุกชุมในภาคกลาง
อาหาร
ลูกปลา ลูกกุ้ง และสัตว์น้ำชนิดอื่น ๆ ซึ่งมีชีวิต
ขนาด
ความยาวโดยทั่วไป 20-40 เซนติเมตร
ประโยชน์
เป็นอาหารและนิยมเลี้ยงเป็นปลาตู้ เพราะมีสีสันสวยงาม

--------------------------------------------------------------------------------

ที่มา : กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
จัดเตรียมโดย : ประวิทย์ สุรนีรนาถ คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์




ชื่อไทย
กระมัง, มัง, วี, เลียม, เหลี่ยม, แพะ, สะกาง
ชื่อสามัญ
SMITH'S BARB
ชื่อวิทยาศาสตร์
Puntioplites proctozsron (Bleeker)
ถิ่นอาศัย
ในแหล่งน้ำจืดทั่วประเทศไทย แต่ละภาคจะเรียกชื่อแตกต่างกันไปตามภาษาท้องถิ่น ภาคกลางเรียกว่า ปลากระมัง บางแห่งเรียกชื่อสั้น ๆ เช่นที่บึงบอระเพ็ด เรียกว่า ปลามัง หรือบางคนเรียก ปลาสมิด ที่ปากน้ำโพมักเรียก ปลาเลียม หรือปลาเหลี่ยม ที่หนองคายและนครพนม เรียก สะกาง ที่เชียงรายเรียก ปลาวี และภาคใต้ที่บ้านดอกเรียนก ปลาแพะ
อาหาร
พืชพันธุ์ไม้น้ำ อินทรีย์สารที่เน่าเปื่อย
ขนาด
ความยาวประมาณ 13-15 เซนติเมตร และขนาดใหญ่ที่สุดมีผู้พบยาวประมาณ 22-22.5 เซนติเมตร
ประโยชน์
ปลากระมังใช้เป็นอาหารได้ทั้งสดและตากแห้ง

--------------------------------------------------------------------------------

ที่มา : กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
จัดเตรียมโดย : ประวิทย์ สุรนีรนาถ คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

--------------------------------------------------------------------------------




ชื่อไทย
กระเบนน้ำจืด
ชื่อสามัญ
FRESHWATER STINGRAY
ชื่อวิทยาศาสตร์
Dasyatis bleekeri (Blyth)
ถิ่นอาศัย
พบในแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำโขง ในท้องถิ่นหลายจังหวัด เช่น อุบลราชธานี นครพนม และหนองคาย
อาหาร
ลูกปลา ลูกกุ้ง และสัตว์น้ำขนาดเล็ก
ขนาด
โดยทั่วไปลำตัวกว้าง 20-50 เซนติเมตร
ประโยชน์
ใช้เป็นอาหารได้

--------------------------------------------------------------------------------

ที่มา : กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
จัดเตรียมโดย : ประวิทย์ สุรนีรนาถ คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์



ชื่อไทย
กระทิงไฟ, กระทิงลายดอกไม้
ชื่อสามัญ
FIRE SPINY EEL
ชื่อวิทยาศาสตร์
Mastacembelus erythrotaenia Bleeker
ถิ่นอาศัย
มีอยู่ในบริเวณน้ำจืดและน้ำกร่อย ในแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำท่าจีน ทางภาคใต้ที่ทะเลน้อย (ทะเลสาบสงขลาตอนใน) แม่น้ำตาปี ชาวใต้เรียกชื่อปลานี้ว่าปลากระทิงลายดอกไม้
อาหาร
เช่นเดียวกับปลากระทิงดำ
ขนาด
ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดมีผู้พบยาวถึง 1 เมตร
ประโยชน์
เป็นปลาสวยงามที่นิยมเลี้ยงกันอย่างแพร่หลาย เนื้อมีรสชาติดี

--------------------------------------------------------------------------------

ที่มา : กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
จัดเตรียมโดย : ประวิทย์ สุรนีรนาถ คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์




ชื่อไทย
กระดี่หม้อ, สลาก, สลาง
ชื่อสามัญ
THREE-SPOT GOURAMI
ชื่อวิทยาศาสตร์
Trichogaster trichopterus (Pallas)
ถิ่นอาศัย
อยู่ตามลำธาร คลอง หนองบึงและบ่อที่มีวัชพืชปกคลุม เพื่อใช้เป็นแหล่งอาศัยขยายพันธุ์และหลบหลีกจากศัตรู
อาหาร
ตะไคร่น้ำ แมลงและสิ่งมีชีวิตเล็ก
ขนาด
ความยาวประมาณ 6 เซนติเมตร
ประโยชน์
นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม และใช้เป็นอาหารทั้งสดและแปรรูป เช่น นำมาเรียงเป็นวงตากแห้ง เรียกว่า "กระดี่รำวง" และหมักเกลือเป็นปลาร้า

--------------------------------------------------------------------------------

ที่มา : กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
จัดเตรียมโดย : ประวิทย์ สุรนีรนาถ คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

--------------------------------------------------------------------------------




ชื่อไทย
กระดี่นาง
ชื่อสามัญ
MOONLIGHT GOURAMI
ชื่อวิทยาศาสตร์
Trichogaster microlepis (Gunther)
ถิ่นอาศัย
มีอยู่ทั่วไปตามแหล่งน้ำ หนองบึง ลำห้วย ซึ่งมีพืชพันธุ์ไม้น้ำหนาแน่น
อาหาร
กินแมลงและสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก
ขนาด
ความยาวประมาณ 15 เซนติเมตร
ประโยชน์
นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามกันแพร่หลาย นำมาปรุงเป็นอาหารได้ ทั้งเป็นปลาสดตากแห้ง หรือหมักดองเป็นปลาเกลือ ปลาร้า

--------------------------------------------------------------------------------

ที่มา : กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
จัดเตรียมโดย : ประวิทย์ สุรนีรนาถ คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์



ชื่อไทย
กดเหลือง
ชื่อสามัญ
YELLOW MYSTUS
ชื่อวิทยาศาสตร์
Mystus nemurus (Cuvier + Valenennes)
ถิ่นอาศัย
เดิมอาศัยอยู่ในทะเล แต่ได้เข้ามาผสมพันธุ์และวางไข่ในน้ำจืดแล้วไม่กลับสู่ทะเลอีกเลย พบแพร่กระจายอยู่ทั่วทุกภาค
อาหาร
กินปลา ลูกกุ้ง แมลงน้ำ และสัตว์น้ำขนาดเล็ก
ขนาด
ความยาวประมาณ 20-35 เซนติเมตร
ประโยชน์
เป็นปลาเศรษฐกิจที่ใช้บริโภคทั้งสดและแห้ง

--------------------------------------------------------------------------------

ที่มา : กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
จัดเตรียมโดย : ประวิทย์ สุรนีรนาถ คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์





ชื่อไทย
กดหิน, แขยงหิน
ชื่อสามัญ
SIAMESE ROCK CATFISH
ชื่อวิทยาศาสตร์
Leiocassis siamensis Regan
ถิ่นอาศัย
อยู่ตามลำธาร เช่น บริเวณปากน้ำโพ จังหวัดนครสวรรค์ แม่น้ำวัง จังหวัดลำปาง แม่น้ำแม่กลอง จังหวัดราชบุรี ฯลฯ
อาหาร
กินลูกปลา ลูกกุ้ง และสัตว์น้ำที่มีขนาดเล็ก
ขนาด
ความยาวประมาณ 17 เซนติเมตร
ประโยชน์
นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม เนื้อใช้ปรุงอาหารได้

--------------------------------------------------------------------------------

ที่มา : กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
จัดเตรียมโดย : ประวิทย์ สุรนีรนาถ คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

--------------------------------------------------------------------------------



ชื่อไทย
ปลากดหลาว
ชื่อสามัญ
TRUNCATED ESTUARINE CATFISH
ชื่อวิทยาศาสตร์
Arius truncatus Cuvier & Valennennes
ถิ่นอาศัย
อยู่บริเวณแหล่งน้ำกร่อยและอพยพมาอยู่ในน้ำจืด พบบริเวณแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำบางปะกง
อาหาร
ลูกกุ้ง ลูกปลา และสัตว์น้ำขนาดเล็ก
ขนาด
ความยาวประมาณ 16-33 เซนติเมตร
ประโยชน์
นับได้ว่าเป็นปลาเศรษฐกิจที่ใช้น้ำมาบริโภคได้

--------------------------------------------------------------------------------

ที่มา : กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
จัดเตรียมโดย : ประวิทย์ สุรนีรนาถ คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์





ปลามังกร ลักษณะธรรมชาติ เป็นปลาน้ำจืด ตระกูลปลากินเนื้อชอบกินสัตว์ที่มีชีวิตอยู่ เช่น แมลงสาบ ตะขาบ จิ้งจก ปลาเล็ก มีนิสัยดุร้าย ในบางแห่งเรียกปลาชนิดนี้ว่าปลาตะพัด แต่ในเขต 3 จังหวัดภาคใต้ ชาวบ้านทั่วไปเรียกว่าปลากรือซอ ปลาชนิดนี้มีมากในแถบอินโดนีเซีย มาเลเซียและประเทศไทยตอนล่าง ซึ่งพบในลำน้ำสายบุรี โดยเฉพาะที่บึงน้ำใสตำบลตะโละหะลอ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดปลามังกร แหล่งใหญ่แหล่งหนึ่งปลามังกรมี รูปร่างยาวเรียว ตัวแบน ๆ คล้ายปลากระบอก มีผู้พบขนาดโตเต็มที่ ความยาวประมาณ 2 ฟุต กว่า ๆ ลำตัวกว้างประมาณ 10 นิ้ว เป็นปลาที่มีอายุยืน การขยายพันธุ์โดยการวางไข่ปีละ 1 ครั้ง ในช่วงประมาณเดือนมิถุนายน และจะฟักเป็นตัวอ่อนขนาด 1 นิ้ว ประมาณเดือนตุลาคม เป็นปลา ที่ชอบเล่นแสงไฟ ดังนั้นในการจับปลามังกร จึงมีการใช้แสงไฟล่อให้ปลามาเล่นแสงไฟ และใช้สวิง ดักจับ ปลามังกรมีสีสรรแตกต่างกันแล้วแต่ชนิดของมัน ซึ่งแบ่งเป็น 3 ชนิด คือ


1. ปลามังกรเงิน เกล็ดจะเป็นสีขาว พบมากในลุ่มแม่น้ำสายบุรี บึงน้ำใส
2. ปลามังกรทอง ลักษณะเกล็ดเป็นสีทองออกแดงเรื่อ ๆ เป็นพันธุ์ที่หายากมากในเมืองไทย ไม่ค่อยมีผู้พบ ส่วนมากจะพบแถบประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย มีราคาสูงมาก
3. ปลามังกรอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นพันธุ์ที่หายากมากที่สุด เกล็ดสีน้ำเงินคล้ำสลับดำ ราคาซื้อ ขายแพงที่สุด อดีต ปลากรือซอ ไร้คุณค่า


ข้อมูลปลา มังกรปลาอะโรวาน่า นับว่าเป็นสุดยอดปลาสวยงามที่ ได้รับความนิยมอย่างสูงสุดมา โดยตลอดซึ่งอาจจะ เป็นเพราะปลาชนิดนี้เป็นปลาที่มีรูปร่างสวยงามน่า เกรงขามมีเกล็ดขนาดใหญ่และมีสีสีนแวววามมี หนวดซึ่งลักษณะดังกล่าวนี้จะคล้าย"มังกร" นอกจากนี้ยังมีเรื่องความเชื่อต่างๆ เข้ามาเกี่ยว ข้องกับปลาอะโรวาน่าโดยชาวจีนเชื่อว่าผู้ใดเลี้ยง ปลาชนิดนี้แล้วจะร่ำรวยมีโชคลาภ จึงทำให้ปลา ชนิดนี้ได้รับความนิยมอย่างสูงสุด จึงส่งผลให้ราคาปลาดังกล่าวมีราคาค่อนข้างสูง สำหรับปลาอะโรวาน่าเกือบทุก สายพันธุ์ โดยเฉพาะสายพันธุ์จากทวีปเอเชีย จากการศึกษาตามประวัติของปลา ชนิดนี้พอที่จะทราบได้ว่ามีการขุดค้นพบซากฟอลซิลและหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ จึงทราบว่าปลาอะโรวาน่าจัดเป็นปลาโบราณอยู่ในตระกูล "Osteoglossidae" ซึ่งเป็นตระกูลของปลา ที่มีลิ้นเป็นกระดูกแข็ง Bony Tougue ปลาชนิดนี้พบ กระจายอยู่ใน 4 ทวีปทั่วโลก คือ ทวีปเอเชีย ทวีปอเมริกาใต้ ทวีปอัฟริกา และทวีป ออสเตรเลีย โดยปลาที่มาจากแต่ละทวีปจะมีรูปร่างลักษณะเด่นพิเศษที่แตกต่างกัน ตามไปด้วย โดยเฉพาะปลาที่มาจากทวีปเอเชีย เป็นปลาที่มีราคาแพงมากที่สุด สายพันธุ์อเมริกาใต้ อะโรวาน่า ปลาตะพัด หรือปลามังกร เป็นปลาที่จัดอยู่ในตระกูล Osteoglos Sidae (ออสทีโอกลอสซีดี้) ปลาในตระกูลนี้พบแพร่กระ จายอยู่ทั่วโลก โดยมีลักษณะภายนอกที่แตกต่าง กันและผันแปรไปตามแหล่งที่สามารถพบได้ แบ่ง ได้ 4 สกุล(Genus) และ มีอีก 7 ชนิด(Specises) ด้วยกัน คือ ทวีปอเมริกาใต้ 3 ชนิด ทวีปออสเตเลีย 2ชนิด ทวีปอัฟริกา 1 ชนิด ทวีปเอเบียอีก 1 ชนิด (4 สายพันธุ์) ซึ่งแต่ละชนิดมีถิ่นกำเนิดแตกต่างกันออกไปดังนี้


1. กลุ่มทวีปเอเชีย
2. กลุ่มทวีปอเมริกาใต้
3. กลุ่มทวีปแอฟริกา
4. กลุ่มทวีปออสเตรเลีย และนอกจากนั้นลักษณะสีของลำตัว หัวและครีบ ของปลา อะโรวาน่าก็มีสีแตกต่างกันออกตามสาย พันธุ์ ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 3 สายพันธุ์


ปลาอะโรวาน่าหรือปลาตะพัดเป็นปลาที่จัดอยู่ในครอบครัว Osteoglossidae (ออสทีโอกลอสซิดี้) ปลาในตระกูลนี้หากจัดแบ่งตามแหล่งที่อยู่อาศัยหรือเขตุภูมิภาคที่พบซึ่งเป็นที่ยอมรับของสากลจะแบ่งออกเป็น 4 สกุล
(Genus) และมี 7 ชนิด (Species) คือ


ทวีปอเมริกาใต้ 3 ชนิด

ทวีปออสเตรเลีย 2 ชนิด

ทวีปอัฟริกา 1 ชนิด

ทวีปเอเซีย 1 ชนิด (4 สายพันธุ์)

การเลี้ยงดู

1. การเตรียมตู้ การเลี้ยงปลามังกรนั้นผู้เลี้ยงต้องคำนึงถึงเรื่องตู้เป็นอันดับแรก มาตรฐานขั้นต่ำที่ใช้เลี้ยงนั้นคือ 60*24*24 นิ้ว หรือ ประมาณ 150*60*60 ซม. จะสามารถเลี้ยงจากขนาดเล็กที่มีขายตามร้านค้าทั่วไปจนถึง ขนาด 24 นิ้ว จะสามารถทำให้ท่านเลี้ยงได้ประมาณ 4-5 ปี แล้วจึงค่อยขยับขยาย” แต่หากท่านที่มีเนื้อที่ ค่อนข้างจำกัดจริงๆก็สามารถเลี้ยงได้ตลอดไป แต่กระจกที่ใช้ควรจะหนาประมาณ 3 หุน ขึ้นไป และ ในกรณีที่พอมีเนื้อที่ในด้านกว้างที่พอจะเพิ่มได้ควรจะกว้างอย่างน้อย 30 นิ้ว หรือ 75 ซม. สูง 36 นิ้ว แต่จะให้ดีก็ กว้าง 36 นิ้ว หรือ 90 ซม. สูง 36 นิ้ว ไปเลยก็จะดี ปลาขนาดใหญ่จะได้ไม่เครียด”( ที่สำคัญอย่าลืมเผื่อกันกระโดดด้วย ประมาณ 4-6 นิ้ว แล้วแต่ขนาดของปลา ) ที่ผมแนะนำอย่างนี้ก็เพื่อผู้เลี้ยงจะไม่ต้องเปลืองสตางค์ซื้อตู้บ่อยๆ แล้วตู้ที่ไม่ได้ใช้เกะกะเต็มบ้านจนต้องยอมขายถูกๆหรือไม่ก็ยกให้ใครไปฟรีๆ แต่ปัญหาที่พบบ่อยปลาเล็กในตู้ขนาดใหญ่ คือ ตื่นกลัว ทำให้การว่ายไม่สง่า ครีบลู่ วิธีแก้คือ หาแท้งค์เมท มาเพิ่มสัก 2-5 ตัว แล้วแต่ขนาดของตู้ ปลาที่ผมอยากจะแนะนำได้แก่ ปลานกแก้ว เป็นตัวหลัก เพราะ เป็นปลาที่ไม่มีข้อเสีย เลย แถมยังข้อดีเพียบ แต่ ไม่ควรใส่จนเยอะเกินไป หรือ นำนกแก้วที่มีขนาดใหญ่กว่าปลามังกรใส่ลงไป ก็จะสามารถแก้อาการตื่นกลัวได้ หากไม่มีปัจจัยอื่นที่ทำให้ปลาตื่นกลัว เช่น เด็กชอบมาทุบกระจก หรือ ตู้ปลาอยู่ตรงทางเดินที่มีคนพลุกพล่าน เป็นต้น ในกรณีท่านที่ไม่มีข้อจำกัดเรื่องเนื้อที่ เมื่อปลาได้ขนาด 16 –18 นิ้วแล้วจึงย้ายปลาไปอยู่ในตู้ที่ใหญ่ขึ้น จะทำให้ปลาที่ท่านเลี้ยงโตขึ้นโดยไม่สะดุด และการว่ายจะไม่มีปัญหา และปลาจะไม่เกิดความเครียด เมื่อท่านเลือกขนาดตู้ที่เหมาะสมแล้วนั้นการเลือกระบบการกรองชีวภาพ และรายละเอียดปลีกย่อยทุกอย่างล้วนมีความสำคัญทั้งสิ้น
2. น้ำที่ใช้เลี้ยงปลา จะต้องเป็นน้ำที่ปราศจากคลอรีน บางท่านอาจจะใช้การพักน้ำให้คลอรีนระเหยบ้าง ใช้เครื่องกรองน้ำบ้าง ( ข้อควรระวัง ห้ามใช้เครื่องกรองที่มีวัสดุกรองเป็นเรซินหรือเครื่องกรองน้ำที่ใช้ดื่ม วัสดุกรองที่ใช้กรองคลอรีนจะต้องเป็นถ่านกะลาเท่านั้น หากใช้คาร์บอนชนิดอื่นอาจทำให้น้ำเป็นด่างสูงเป็นอันตรายต่อปลาได้ ) คุณภาพน้ำที่ใช้เลี้ยงปลามังกรนั้นค่อนข้างสำคัญอย่างยิ่ง ถ้าหากให้ผมแนะนำการที่จะได้มาซึ่งคุณภาพน้ำสูงสุดนั้น ควรใช้น้ำปะปาแล้วต่อเครื่องกรองคลอรีนแล้วนำน้ำไปพักให้ตกตะกอนหากน้ำที่พักทิ้งไว้เป็นเวลาหลายวันควรมีหัวทรายตีน้ำไว้เพื่อคงระดับออกซิเจนในน้ำเพื่อป้องกันน้ำเสีย จะทำให้ท่านได้น้ำที่ปราศจากคลอรีน ใสไม่มีตะกอน และมีออกซิเจนสูง อุณหภูมิน้ำในตู้บริเวณผิวน้ำควรอยู่ระหว่าง 30-34 องศาเซลเซียส น้ำที่ต้องห้ามใช้เลี้ยงปลามังกร ได้แก่ น้ำที่มีสารเคมีทุกชนิดปนอยู่ น้ำที่มีฤทธิ์เป็นด่างสูง น้ำฝน น้ำบาดาล น้ำสกปรก คือน้ำที่มีออกซิเจนละลายอยู่ในปริมาณต่ำ
3. อาหาร ที่ใช้เลี้ยงปลามังกรก็มีส่วนสำคัญ ซึ่งมีผลโดยตรงกับการเจริญเติบโตของปลา รวมถึงรูปทรงและสีสันของปลา อาหารที่ใช้เลี้ยงได้แก่ แมลงเกือบทุกชนิด ลูกปลา หนอน ไส้เดือน กบ กุ้งฝอย เนื้อกุ้ง รวมทั้ง อาหารเม็ด การให้อาหารปลามังกรนั้นไม่จำกัดตายตัว ว่าจะต้องกินอย่างไร ซึ่งจะขึ้นอยู่กับ ความสะดวกของผู้เลี้ยง และอุปนิสัยการกินของปลาประกอบเข้าด้วยกัน แต่ที่ผมจะแนะนำคือ ปริมาณอาหารที่ให้ในแต่ละวันนั้นจะต้องไม่มาก หรือน้อยเกินไป โดยส่วนมากแล้วเมื่อปลาอิ่มจะไม่สนใจอาหารแล้วเชิดหน้าใส่ ยกเว้นจะเป็นของที่โปรดปรานจริงๆจึงจะฝืนกินจนพุงกางบางท่านชอบทำแบบนี้แล้วชอบใจว่าปลาของเรากินเก่ง แต่ผลเสียก็คือ ปลาของท่านจะเป็นโรคอ้วน เสียทรง ตาตก เพราะอาหารที่พวกมัน โปรดปรานส่วนใหญ่หนีไม่พ้นอาหารที่มีไขมันสูง อันได้แก่ หนอนนก หนอนยักษ์ จิ้งหรีด กบ ตะพาบ ซึ่งอาหารจำพวกนี้ควรควบคุมปริมาณที่ให้ในแต่ละวัน แต่จะงดไปเลยก็ไม่ดี เพราะจะทำให้ปลาท่านไม่โต หรือโตช้า เนื่องจากอาหารจำพวกนี้จะอุดมไปด้วยโปรตีนซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญที่ใช้ในการเจริญเติบโต การให้อาหารที่ดีนั้น ท่านควรสับเปลี่ยนหมุนเวียนไปเรื่อยๆเพื่อสุขภาพปลาของท่านจะแข็งแรงมีภูมิต้านทานสูง เหมือนกับคนเราที่ได้รับประทานอาหารครบทั้ง 5 หมู่ ยกตัวอย่างให้เข้าใจได้ง่ายดังนี้ เดือนมกราคม หนอนนก กุ้งฝอย ลูกปลา เดือนกุมภาพันธ์ หนอนยักษ์ กุ้งฝอย ลูกกบ เดือนมีนาคม จิ้งหรีด กุ้งฝอย เนื้อกุ้ง เดือนเมษายน ตะขาบ กุ้งฝอย ลูกตะพาบ เดือนพฤษภาคม แมลงป่อง กุ้งฝอย จิ้งจก เดือนมิถุนายน ก็กลับหมุนเวียนเอาของเดือนมกราคมขึ้นมาใหม่ เป็นต้น หรือ จะเอาทุกอย่างมาสับเปลี่ยนหมุนเวียนในแต่ละวันก็ได้ แต่อาหารที่มีทั่วไปหาซื้อง่าย ได้แก่ หนอนนก กุ้งฝอย เนื้อกุ้งสด ลูกปลา จิ้งหรีด ลูกกบ อาหารที่ไม่แนะนำให้ใช้กับปลามังกรได้แก่ แมลงสาบ ถ้าท่านไม่ได้เพาะพันธ์เองไม่ควรใช้ เนื้อหมู หรือ เนื้อวัว จะทำให้ย่อยยาก อาจทำให้เกิดโรคเกี่ยวกับลำไส้ หรือเมื่อใช้เลี้ยงไปนานๆปลาของท่านอาจจะตายโดยไม่รู้สาเหตุ เพราะในเนื้อหมูหรือเนื้อวัวนั้นจะมีพยาธิบางชนิดค่อยๆกัดกินอวัยวะภายในจนตาย เนื่องจากมันไม่ใช่อาหารของมันตามธรรมชาติ จึงไม่มีกลไกภายในร่างกายสามารถป้องกันได้

อาหารปลามังกร

1.) ไรน้ำนางฟ้ามีโปรตีนสูงมากถึง 65% ทำให้ปลาที่กินไรน้ำนางฟ้า โตเร็ว เพราะได้โปรตีนช่วยในการเจริญเติบโต
2.) คารฺ์โบไฮเดรตสูงกว่าอาหารประเภทอื่นๆ ทำให้ปลาได้รับพลังงานสูง การเคลื่อนไหวก็กระฉับกระเฉง
3.) ไขมันต่ำทำให้ปลาไม่อ้วน จึงทำให้ปลาสุขภาพดี ไม้ขี้โรค และที่สำคัญไรน้ำนางฟ้านั้นอุดมไปด้วยเบต้าแคโรทีนมากกว่าอาหารชนิด อื่นๆด้วยซึ่งเบต้าแคโรทีนเป็นสารที่สร้างสีสันให้ปลาดูสวยงาม เราสามารถ พบจากงานวิจัยของมหาวิทยาลัยขอนแก่นว่า เมื่อปลาหมอสีที่เลี้ยงด้วยปลา หมอสีเพียง 2 วันเท่านั้น ทำให้ปลามีสีแดงสดอย่างชัดเจน และเป็นสารต้าน อนุมูลอิสระ ทำให้ปลาอายุยืนอีกด้วย
2. ไรน้ำนางฟ้านั้นเจริญเติบโตเร็วมาก สามารถเก็บผลผลิตได้ใน5-7วัน
3. ขยายพันธุ้ได้เร็ว เพราะไรน้ำนางฟ้าตัวเมีย1 ตัววางไข่ได้ราว 6,000-12,000ฟอง
4. สามารถเลือกเก็บตัวไรไปใช้ประโยชน์ได้หลายขนาดตามขนาดของปลาที่เลี้ยง เช่น - ลูกไร อายุ 1-3 วันใช้เลี้ยงลูกปลาได้ - ไร อายุ 4-5 วัน มีขนาด 1 ซม. ใช้เลี้ยงปลาขนาดเล็ก - ไร อายุ 7 วัน มีขนาด 2 ซม. และอายุ 15 วัน ขนาด 3-4 ซม.ใช้เลี้ยงปลาขนาดใหญ่ได้
5. ลดต้นทุนค่าอาหาร เพราะถ้าต้องซื้อจากฟาร์มเพาะเลี้ยง ซึ่งราคาตัวละ 5-10 สตางค์แต่ถ้าสามารถเพาะเลี้ยง ได้เองจะสามารถลดต้นทุนได้มาก เพราะมีต้นทุนเพียงค่าน้ำค่าปุ๋ย และค่าไฟฟ้าเพียงเล็กน้อย

การเพราะพันธุ์ปลามังกร
ปลาในตระกูลอะโรวาน่าทั้งหมดเป็นปลาที่แพร่พันธุ์ โดยการวางไข่ฟักและเลี้องลูกในปาก ( MOUTH INCUBATOR ) ยกเว้นปลาอะราไพม่าซึ่งมีพฤติกรรมวางไข่คล้ายกับปลาช่อนในบ้านเรา โดยอัตราการวางไข่ของปลาอะโรวาน่าโดยทั่ว ๆ ไปจะอยู่ในช่วงระหว่าง 30-400 ฟองโดยประมาณ ไข่ปลามีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางราว 0.5-1.5 เซนติเมตรทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของปลาและความสมบูรณ์ของไข่แต่ละฟอง โดยไข่ของปลาอะโรวาน่าทางแถบอเมริกาใต้จะมีขนาดเล็กกว่าไข่ของปลาอะโรวาน่าทางแถบโซนเอเซียซึ่งไข่ของปลาอะโรวาน่าเงินและดำจะมีเส้นผ่าศูนย์กลางราว 0.5-0.8 เซ็นติเมตร ในขณะที่ปลาอะโรวาน่าโซนเอเซียจะมีเส้นผ่าศูนย์กลางราว 1-1.5 เซ็นติเมตร โดยรูปทรงของไข่ปลาอะโรวาน่าเงินและดำจะมีลักษณะกลมรีคล้ายรูปไข่ ส่วนไข่ของปลาอะโรวาน่าทางแถบโซนเอเซียจะเป็นรูปทรงค่อนข้างกลมขนาดและลักษณะคล้ายเมล็ดลำใย โดยไข่ของปลาอะโรวาน่าแต่ละชนิดจะมีสีสันคล้าย ๆ กันคือออกสีเหลืองหรือสีส้มอม เหลือง ปกติไข่จะใช้เวลาในการฟักเป็นตัวราว 2-5 วัน ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิของน้ำในแต่ละช่วงว่าจะสูงหรือต่ำ หากอุณหภูมิน้ำสูงไข่ก็จะฟักเป็นตัวเร็วขึ้น ในธรรมชาติหลังจากพ่อแม่ปลาผสมพันธุ์วางไข่เสร็จแล้วพ่อแม่ปลาจะอมไข่และฟักลูกในปากโดยในขณะที่ปลาตัวเมียวางไข่ตัวผู้ก็จะว่ายคลอเคลียพร้อมกับปล่อยน้ำเชื้อออกมาผสมกับไข่ที่ตัวเมียเบ่งออกมา ยามที่ลูกปลาเริ่มฟักเป็นตัวใหม่ ๆ จะมีถุงอาหารสีส้มลักษณะคล้ายกับลูกโป่งใบเล็ก ๆ ห้อยติดอยู่ที่ใต้ท้อง ซึ่งถุงอาหาร นี้จะค่อย ๆ ยุบตัวเมื่ออาหารสำรองในถุงถูกลูกปลาย่อยหมดแล้ว ในระหว่างนี้ พ่อแม่ปลาจะยังคงเลี้ยงลูกของตนไว้ในปากจนกระทั่งผ่านไปเป็นเวลาเดือนเศษเมื่อลูกปลาเริ่มสามารถช่วยเหลือตัวเองในการหาอาหารได้แล้ว พ่อแม่ปลาก็ จะผละจากไปโดยในช่วงแรกลูกปลาที่เพิ่งแยกจากพ่อแม่จะจับกลุ่มรวมเป็น ฝูงลอยคออยู่ใกล้ระดับผิวน้ำ แต่พอเริ่มโตขึ้นก็จะค่อย ๆ แสดงพฤติกรรมก้าวร้าวโดยจะเริ่มกัด ทำร้ายกันเอง จนในที่สุดก็จะว่ายแตกฝูงกันไปคนละทิศละทาง โดยจะยังจับกลุ่มกันเป็นฝูงย่อย ๆ ฝูงละไม่กี่ตัว ซึ่งโดยมากจะพบแค่ฝูงละ3-5 ตัวเป็นอย่างมาก



เคล็ดลับการเลี้ยง"ปลามังกร"ให้โตเร็ว
เคล็ดลับการเลี้ยง"ปลามังกร"ให้โตเร็ว ปลามังกรจัดเป็นปลาที่มีราคาแพงทั้งในประเทศแลละต่างประเทศ ซึ่งถ้าได้เกณฑ์มาตรฐานแล้วราคาอาจสูงถึงหลักล้านเลยทีเดียว ผู้เลี้ยงปลามังกรหลายท่านเชื่อว่า ถ้าเลี้ยงแล้วจะมีโชคลาภ จึงทำให้ความนิยมในการเลี้ยงปลามังกรไม่เคยตกลงเลย มีผู้เลี้ยงบางท่านยอมลงทุนอย่างมากเพื่อที่จะได้ปลาชนิดนี้มาเลี้ยงโดยไม่ต้องคอยลุ้นว่าเมื่อไหร่ปลามังกรตัวโตๆจะมีเกล็ดมันวาว แต่สำหรับบางท่านที่ต้องการเห็นตั้งแต่ตัวเล็กๆจนปลามังกรค่อยๆโตขึ้น เราก็มีเคล็ดลับง่ายๆในการเลี้ยงให้ปลามังกรโตเร็วและมีสุขภาพที่แข็งแรงด้วยวิธีง่ายๆและมีปัจจัยหลักๆดังนี้ อาหาร สารอาหารที่มีผลโดยตรงต่อการเจริญเติบโตของปลามังกร คือ โปรตีน และแคลเซียม สารอาหารเหล่านี้เราหาได้จาก ปลา นั่นเอง ดังนั้นการให้ลูกปลาเป็นอาหารจะให้ผลดีที่สุด แต่ก็ควรสลับกับอาหารชนิดอื่นๆบ้าง เช่น เนื้อสัตว์ อาหารชนิดนี้ควรล้างและลวกซะก่อน เพื่อเป็นการฆ่าเชื้อบางชนิด บางท่านให้กินแมลงสาบเป็นอาหาร ซึ่งวิธีนี้ควรทบทวนให้ดี เพราะแมลงสาบเป็นพาหะอย่างหนึ่งที่จะนำเชื้อโรคเข้าสู่ตัวปลา ส่วนการให้ปลากินอาหารนั้น ควรให้ในปริมาณน้อยๆแต่ให้ถี่ๆ แต่คงจะยากสำหรับคนที่ไม่มีเวลามากพอที่จะนั่งเฝ้าดูปลากินอาหารทั้งวัน ถ้าเป็นเช่นนั้นก็ขอแนะนำให้ฝึกปลากินอาหารให้เป็นเวลาจะดีที่สุด อากาศ เป็นอีกปัจจัยที่ทำให้ปลาแข็งแรงสมบูรณ์ และทำให้ปลากินอาหารได้มากขึ้น ดังนั้นควรเปิดแอร์ปั๊มในตู้อยู่ตลอดเวลา น้ำ น้ำที่ดีที่สุดควรเป็นน้ำประปาที่ผ่านการกรองมาแล้วไม่ต่ำกว่า 24 ชม. pH ควรอยู่ที่ 6.5-6.8 ควรเปลี่ยนถ่ายน้ำ 20-30% ของน้ำในตู้ทุกๆเดือน จะทำให้ปลารู้สึกสดชื่นกระตือรือร้นทันที อุณหภูมิ ไม่ควรปล่อยให้ต่ำเกินไป เพราะจะทำให้ปลากินอาหารได้น้อย ควรรักษาอุณหภูมิในตู้ให้คงที่ สภาพแวดล้อม จัดสภาพแวดล้อมให้ใกล้เคียงธรรมชาติมากที่สุด จะทำให้ปลาไม่ตื่นกลัว และสามารถกินอาหารได้มากขึ้น โรคภัย โรคปลาจะเกิดขึ้นได้ ถ้าหากผู้เลี้ยงละเลยปัจจัยทั้ง 5 ที่กล่าวมา และการสังเกตปลาเป็นโรคเบื้องต้น ให้สังเกตการกินอาหาร และการว่ายน้ำ ถ้ามีอาการช้าลงแสดงว่าปลาเริ่มเป็นโรคแล้ว ควรหาวิธีแก้ไขให้เร็วที่สุด เพียงแค่ท่านปฏิบัติตามขั้นตอนที่กล่าวมานี้ ท่านก็จะได้เห็นปลามังกรที่โตเร็วและแข็งแรงเป็นผลตอบแทน

การแบ่งสายพันธุ์ปลามังกร
เราสามารถแบ่งแยกประเภทของปลาได้ 4 สายพันธุ์ 1. ปลามังกรทอง (มาเลเซีย) Arowana Cross Back 2. ปลามังกรแดง (อินโดนีเซีย) Arowana Red 3. ปลามังกรทอง (อินโดนีเซีย) Arowana Red Tail Golden 4. ปลามังกรเขียว Arowana Green ปลามังกรจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เมื่อได้เปรียบเทียบกับปลามังกรจากอเมริกาใต้นั้น ปลามังกรจากเอเชียจะมีช่วงหางที่กลมเหมือนพัดและช่วงตัวที่กว้าง ความกว้างของลำตัวจะมีขนาด 4 ถึง 5.5 นิ้ว เกล็ดจะมีความแข็งแลใหญ่ ครีบหน้าคู่ จะมีขนาดที่เท่ากันในแต่ละส่วน ครีบหางจะมี 2 แบบคือ แบบลูกแพร์และแบบพัด ครีบช่วงหลังบน ครีบช่วงหลังล่างและครีบหางจะไม่เชื่อมต่อกัน ช่วงปากจะมีขนาดใหญ่และเป็นรูปเฉียง ปลามังกรจะมีฟันที่น้อยเรียงชิดกันมากและมีความคม ปากจะมีรูปทรงมุมฉากเมื่อปลาเปิดปาก ลูกตาทั้งสองข้างจะมีขนาดใหญ่ หนวดทั้งคู่จะยื่นออกมาจากขอบปากด้านล่าง ปลาชนิดนี้สามารถยาวได้ถึง 30 นิ้วและมีน้ำหนักประมาณ 7 กิโลกรัม ในป่านั้นปลาจะอาศัยอยู่บริเวณน้ำที่ตื้น ๆ และมีความสะอาด ปลาอโรวาน่าจะอยู่นิ่ง ๆ หรือลอยไปผิวน้ำ ส่วนที่มีความทึบริแม่น้ำ ระดับของอุณหภูมิน้ำนั้นจะอยู่ราว ๆ 27 องศา และค่า ph จะประมาณ 6.5-7 ปลาอโรวาน่าที่อยู่ในธรรมชาตินั้นจะมีความก้าวร้าวและจะป้องกันถิ่นที่อยู่อาศัย 1. ปลาอโรวาน่าทองอินโดหางแดง ปลาอโรวาน่าสายพันธุ์นี้ส่วนหลังจะมีสีออกไปทางสีดำเขียวเข้ม ๆ จะรวมไปถึงครีบหลังและส่วนครึ่งบน ของหางส่วนสีทองบนเกล็ดนั้นปลาที่สายพันธุ์ดีนั้น สีจะออกทองครึ่งหนึ่งของเกล็ด ส่วนครีบหน้า ครีบส่วนท้องและหางส่วนครึ่งล่างจะมีสีแดงเข้ม ส่วนของเหงือกทั้งหมดจะออกเป็นสีทองแวววาว สายพันธุ์นี้ถูกค้นพบใน กาลิมันตันและสุมาตรา ประเทศอินโดนิเซียและมีราคาที่เหมาะสม 2. ปลาอโรวาน่าทองมาเลเซีย รูปร่างลักษณะจะเหมือนปลาอโรวาน่าทองอินโด ยกเว้นเกล็ดสีทองนั้นจะข้ามหลังและสีทองจะเหลืองเข้มแวววาวทั้งตัว ยังมี blue base (สีน้ำเงินเหลือบตามเกล็ดลงไปถึงท้อง ปลาสายพันธุ์นี้ยังมีจำนวนน้อยเพราะสามารถเพาะพันธุ์ได้จำนวนน้อย ดังนั้นปลาสายพันธุ์นี้จึงมีราคาแพงกว่าปลาอโรวาน่าทองอินโดอยู่มากและก็ยังมีราคาที่แพงกว่าปลาอโรวาน่าแดง 3. ปลาอโรวาน่าแดง เหงือกปลาสายพันธุ์นี้จะมีสีแดง ครีบทั้งหมดและขอบของเกล็ดก็จะมีสีแดงเข้มหรือสีแดงเลือด 4. ปลาอโรวาน่าเขียว เกล็ดจะเป็นสีเขียว รูปทรงจะสั้นและเล็กกว่า ปลาสายพันธุ์นี้จะพบได้ตามธรรมชาติในประเทศไทย มาเลเซีย เวียดนามและพม่า

ปลามังกรกับฮวงจุ้ยดีดี
เมื่ออาทิตย์ก่อนมีโอกาสได้ดูรายการเกี่ยวกับฮวยจุ้ย ซึ่งครั้งนี้เสนอเกี่ยวกับปลามังกร เลยขอบอกกล่าวเผื่อว่ามีนักถ่ายภาพท่านใดสนใจเรื่องฮวยจุ้ยกับเรื่องปลานะครับ ถ้าไม่สมควรในการลงข้อความนี้อย่างไรรบกวนแจ้งได้ครับ บทความนี้เป็นเรื่องราวของอาทิตย์ที่แล้วครับ "weekที่ 1 ผ่านพ้นเรื่องฮวงจุ้ยดีดีกับ 12 นักษัตรกันไปแล้ว ครั้งนี้ วิลลี่ แมคอินทอช จะพาไปรู้จักกับสิ่งมงคลอีกชนิดหนึ่ง ปลาอะโรวาน่า หรือ ปลามังกร , ปลานำโชค แล้วแต่ใครจะเรียกเพราะปลาชนิดนี้มีเรื่องเล่ามากมาย คุณสิทธิธรรม เรืองจรุงพงศ์ เจ้าของ อะโรวาน่า ฟาร์ม ซึ่งรักการเลี้ยงปลาชนิดนี้เป็นชีวิตจิตใจบอกว่า “สายพันธุ์ที่นิยมและเป็นมงคลตามความเชื่อคือ แดงอินโด , ทองอินโด และ ทองมาเลย์ ราคาเริ่มต้นประมาณตัวละ 10,000 แพงสุดตัวละล้านกว่าบาทก็มี ผมเลี้ยงด้วยความชอบจนเริ่มทำเป็นธุรกิจถือว่าทำเงินได้ดีทีเดียว ความเชื่อของปลาอะโรวาน่ามีมากมาย อย่างผมเคยเจอกับตัวเองต้องเดินทางไปต่างประเทศแล้วไม่ได้ไป ปรากฏว่าทริปนั้นครอบครัวผมประสบอุบัติเหตุ โชคดีไม่มีใครเป็นอะไรแต่ปลาที่ผมเลี้ยงไว้อยู่ดีๆ ก็ตายในวันที่ครอบครัวเรามีเรื่อง ผมรู้สึกว่าเค้ารับเคราะห์แทนครอบครัวเรา เคยมีคนรู้จักเล่าให้ฟังว่าพอเลี้ยงปลาชนิดนี้แล้วถูกล๊อตเตอรี่ตลอด อันนี้ก็เป็นความเชื่อส่วนบุคคลครับ” ทางด้าน อ.วิศิษฎ์ เตชะเกษม ผู้เชี่ยวชาญเรื่องฮวงจุ้ยบอกว่า “ปลาอะโรวาน่าเป็นปลาที่มีลักษณะดี มีหนวดเหมือนมังกร มีการเคลื่อนไหวตลอดเวลา มีสีสันสวยงาม ยิ่งถ้าคนไหนเลี้ยงจนเกล็ดขึ้นสีทอง สีแดง เรียงสวย เค้าบอกว่าจะยิ่งให้โชคลาภ เพราะปลาในทางศาสตร์ฮวงจุ้ยหมายถึงความร่ำรวย เงินทองอยู่แล้ว” นอกจากนี้ช่วงท้ายเจ้าของฟาร์มยังใจดีแนะนำวิธีจะเลือกซื้อปลา

ที่มาจาก
www.tom2375.th.gs




ปลาทูน่า (อังกฤษ: tuna) เป็นชื่อของปลาทะเลน้ำลึกที่มีอยู่มากมายหลากชนิด เช่น yellowfin, bigeye, bluefin, albacore และ skipjack สามารถว่ายน้ำได้เร็ว มีผู้เคยจับเวลาการว่ายของปลาทูน่าได้ถึง 70 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เนื้อของปลาทูน่าจะมีสีชมพูหรือแดงเข้ม ต่างจากปลาทั่วไปที่มักจะมีเนื้อสีขาว นิยมเอามาทำเป็นปลากระป๋อง




ปลามูด ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Gyrinocheilus pennocki ในวงศ์ปลาสร้อยน้ำผึ้ง (Gyrinocheilus) อันดับปลากินพืช มีรูปร่างทั่วไปคล้ายปลาสร้อยน้ำผึ้ง (G. aymonieri) ซึ่งเป็นปลาที่อยู่ในสกุลเดียวกัน แต่สำหรับปลามูดจะมีรูปร่างที่แลดูใหญ่กว่า ครีบหลังใหญ่และยาวกว่า และตัวผู้เมื่อเจริญวัยขึ้นจะมีปุ่มคล้ายเม็ดสิวขึ้นตามหน้าและริมฝีปากบนมากกว่า

มีความยาวเต็มที่ประมาณ 30 เซนติเมตร ปลามูดพบได้เฉพาะแม่น้ำโขงและลำน้ำสาขาเท่านั้น โดยเฉพาะอย่างบริเวณที่เป็นโขดหินหรือแก่งหินหรือบริเวณที่น้ำไหลเชี่ยว โดยรวมแล้วจะพบได้ยากกว่าปลาสร้อยน้ำผึ้ง

มีชื่อเรียกในภาษาอีสานท้องถิ่นว่า ปลาเกาะ หรือ มันมูด หรือ ข่วยข้า และมีชื่อเรียกอื่น ๆ อีกว่า น้ำผึ้งป่า เป็นต้น





ปลาหมอ ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Anabas testudineus ในวงศ์ปลาหมอ (Anabantidae) มีรูปร่างป้อม ลำตัวแบนข้าง ตาโต ปากกว้าง ขอบฝาปิดเหงือกหยักแข็ง เกล็ดใหญ่คลุมทั้งลำตัว มีขอบเกล็ดแบบหยัก ผิวสาก เส้นข้างลำตัวขาดตอน ครีบหลังยาวเกือบเท่าความยาวลำตัว มีก้านครีบแข็งแหลมคมจำนวนมากเช่นเดียวกับครีบก้น แต่ครีบก้นสั้นกว่า ครีบอกเล็กเป็นรูปไข่ ครีบหางปลายมน ตัวมีสีเขียวมะกอกและมีลายประสีคล้ำที่ข้างลำตัว ครีบใส ลำตัวด้านท้องมีสีเหลือง ขอบฝาปิดเหงือกตอนบนมีแต้มสีคล้ำ มีอวัยวะช่วยหายใจเป็นแผ่นริ้วย่น ๆ อยู่ตอนบนของของช่องเหงือก จึงสามารถฮุบอากาศจากบนผิวน้ำได้โดยตรงโดยไม่ต้องรอให้ออกซิเจนละลายในน้ำ และสามารถอยู่บนบกหรือพื้นที่ขาดน้ำได้เป็นระยะเวลานาน ๆ ซึ่งในฤดูฝนบางครั้งจะพบปลาหมอแถกเหงือกไถลคืบคลานไปบนบกเพื่อหาที่อยู่ใหม่ได้ ด้วยความสามารถอันนี้ในภาษาอังกฤษจึงเรียกปลาชนิดนี้ว่า "Climbing perch" หรือ "Climbing gourami"

ความยาวยาวประมาณ 10-13 เซนติเมตร ใหญ่สุดพบถึง 20 เซนติเมตร มีพฤติกรรมการวางไข่โดยตัวผู้และตัวเมียช่วยกันปรับที่วางไข่ โดยวางไข่ลอยเป็นแพ แต่จะปล่อยให้ลูกปลาเติบโตขึ้นมาเอง

ปลาหมอเป็นปลาที่สามารถพบได้ในทุกแหล่งน้ำ กระจายอยู่ทั่วไปในทวีปเอเชีย สำหรับในประเทศไทยพบทุกภาค และเป็นปลาที่คนไทยรู้จักกันเป็นอย่างดี ด้วยใช้เป็นอาหารมาช้านาน และมีความเชื่อว่าหากปล่อยปลาหมอจะทำให้ไม่เป็นโรคหรือหายจะโรคได้ ด้วยชื่อที่มีความหมายถึงหมอหรือแพทย์ผู้รักษาโรค และนิยมเลี้ยงเป็นปลาเศรษฐกิจในปัจจุบัน อีกทั้งในปลาที่มีสีกลายไปจากสีปกติ เช่น สีทองยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม ที่มีราคาขายแพงอีกด้วย

มีชื่อเรียกอื่น ๆ เช่น ปลาหมอไทย, ปลาเข็งหรือสะเด็ดในภาษาอีสาน เป็นต้น





ปลา จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง เป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำ ส่วนใหญ่เป็นสัตว์เลือดเย็น หายใจด้วยเหงือกและมีกระดูกสันหลัง สามารถเคลื่อนไหวไปมาด้วยครีบและกล้ามเนื้อของลำตัว บางชนิดมีเกล็ดปกคลุมทั่วตัว บางชนิดไม่มีเกล็ดแต่ปกคลุมด้วยเมือกลื่น ๆ หรือแผ่นกระดูก มีหัวใจสองห้องและมีขากรรไกร ยกเว้นปลาจำพวกปลาฉลาม

สัตว์ที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำบางประเภท ถูกเรียกติดปากว่าปลาเช่นเดียวกันเช่น ปลาดาว โลมา ปลาวาฬและปลาหมึก ซึ่งสัตว์ทั้งหมดนี้ก็มีแหล่งอาศัยอยู่ในน้ำด้วยกันทั้งสิ้น แต่ไม่ได้จัดอยู่ในจำพวกเดียวกันกับปลา ด้วยลักษณะทางกายวิภาคและสรีรวิยาที่แตกต่างกันเช่น ปลาดาวเป็นสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลังเช่นเดียวกับปลา มีโครงสร้างที่เป็นหินปูน โลมาและปลาวาฬถูกจัดเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่สามารถหายใจได้ทางปอดไม่ใช่ทางเหงือก และปลาหมึกจัดเป็นสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลัง แต่ถูกจัดรวมอยู่กับสัตว์ประเภทเดียวกันกับหอย

ลักษณะทั่วไป
ปลาเป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำ มีหลายจำนวนมากมายหลากหลายสายพันธุ์ บางชนิดมีเกล็ดและไม่มีเกล็ด ปลาส่วนมากมีการผสมพันธุ์นอกร่างกาย แต่บางชนิดก็จะมีการผสมพันธุ์ภายในร่างกายของปลาตัวเมีย มีลักษณะลำตัวด้านซ้ายและขวาเท่ากัน สามารถแบ่งกลุ่มทางอนุกรมวิธานของปลาได้ ดังนี้

ปลาปากกลม (cyclostome) แบ่งเป็น แฮกฟิช (Hagfish) พบในปัจจุบันประมาณ 65 ชนิด และ ปลาแลมเพรย์ (Lampreys) พบในปัจจุบันประมาณ 40 ชนิด
ปลากระดูกอ่อน (cartilaginous fish) ได้แก่ ปลาฉลาม ปลาโรนัน ปลาฉนาก ปลากระเบน พบในปัจจุบันประมาณ 300 ชนิด
ปลากระดูกแข็ง (bony fish) คือปลาอื่นๆที่เหลือทั้งหมด ปลากระดูกแข็งเป็นปลาส่วนใหญ่ของโลก พบในปัจจุบันประมาณ 21,000 ชนิด
ปลาเป็นสัตว์น้ำที่สามารถดำรงชีพอยู่ได้ในสภาพของดินฟ้าอากาศที่มีความแปรปรวน และแตกต่างกันอย่างมาก ตราบใดเท่าที่ในบริเวณนั้นยังคงมีแหล่งน้ำอยู่ เนื่องจากปลาในแต่ละสปีชีส์จะมีคุณสมบัติเฉพาะตัวในการปรับสภาพของตัวเองให้สามารถมีชีวิตต่อไปได้ เช่นปลาที่อาศัยในมหาสมุทรแอนตาร์กติก ซึ่งปกคลุมไปด้วยน้ำแข็งและอุณหภูมิที่ต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง จึงต้องปรับสภาพร่างกายของตัวเองโดยการสร้างสารความต้านทานของเม็ดเลือด หรือปลาที่อาศัยอยู่ในน้ำที่มีอุณหภูมิสูง แหล่งน้ำที่จืดสนิทจนถึงแหล่งน้ำที่มีความเค็มค่อนข้างมาก ก็จะปรับสภาพการดำรงชีพที่แตกต่างกันรวมไปถึงวิธีการว่ายน้ำด้วยลักษณะวิธีการที่แตกต่างกัน การปรับตัวและการดิ้นรนเพื่อการดำรงชีพของปลา ทำให้ลักษณะทางสรีรวิทยารวมถึงพฤติกรรมต่าง ๆ มีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง

สภาพแวดล้อมเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่มีอิทธิพลต่อรูปร่าง สีสันของเกล็ดรวมถึงลักษณะทางชีววิทยาของปลาในแต่ละชนิด ซึ่งปลาบางชนิดจะปรับเปลี่ยนอวัยวะบางส่วนที่ไม่จำเป็นต่อการอยู่รอดและสร้างอวัยวะใหม่เพื่อให้มีความเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมแทน เพื่อให้สามารถดำรงชีพต่อไปได้และเป็นการพัฒนาโครงสร้างทางกายวิภาคที่เป็นประโยชน์แก่ปลาอีกด้วย

ปลาแต่ละชนิดจะมีนิสัยและแหล่งที่อยู่อาศัยเฉพาะตัวที่แตกต่างกันออกไป เช่นปลาที่หากินตามบริเวณพื้นดินจะมีรูปร่างคล้ายคลึงกับหนอน ปลาที่อาศัยในกระแสน้ำที่เร็วและเชี่ยวกราด จะมีรูปร่างเปรียว หัวมีลักษณะมนเพื่อให้เหมาะกับการว่ายทวนน้ำ หรือปลาที่มีรูปร่างแบน ๆ เช่นปลากระดี่หรือปลาสลิด จะอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำตื้น ๆ เช่นริมฝั่งแม่น้ำ

ลักษณะทางกายวิภาค
ปลาโดยทั่วไปจะเคลื่อนไหวร่างกายในน้ำด้วยครีบ โดยจะใช้ครีบบริเวณหลังและครีบบริเวรก้นสำหรับว่ายน้ำ ซึ่งปลาในสปีชีส์อื่น ๆ อาจจะใช้ครีบบริเวณหูและครีบบริเวณก้นในการเคลื่อนตัวไปด้านหน้า ปลาบางชนิดอาจจะใช้อวัยวะบางส่วนเช่นครีบบริเวณท้อง เพื่อสำหรับทำหน้าที่ให้เหมือนกับเท้าของสัตว์ชนิดอื่น ๆ เช่นปลาตีนเพื่อไว้สำหรับการเคลื่อนไหวไปมา สามารถปีนป่ายก้อนหินและรากไม้ได้อย่างอิสระเสรี ภาพโดยรวมแล้วอวัยวะต่าง ๆ ของปลาประกอบด้วย

ปาก
จมูก
ตา
กระพุ้งแก้ม
ครีบหู
ครีบท้อง
ครีบหลัง
ครีบก้น
ครีบหาง
รูก้น
เส้นข้างตัว


มีซึ่งนอกจากครีบแล้วปลายังมีอวัยวะต่าง ๆ ที่มีประสาทในการรับรู้ความรู้สึกด้านต่าง ๆ รวมอยู่ด้วย ได้แก่

ครีบ
ปลามีครีบซึ่งทำหน้าที่แทนแขนและขาเช่นเดียวกับสัตว์บกชนิดอื่น ๆ ลักษณะของครีบปลาจะประกอบไปด้วยแผ่นผังผืดบาง ๆ ขึงอยู่ในบริเวณตอนบนของลำตัวและระหว่างบริเวณก้านครีบ มีลักษณะแข็งและอ่อนได้ตามแต่ละสปีชีส์ โดยโคนของก้านครีบจะอยู่ในบริเวณส่วนของลำตัว และเชื่อมติดกับข้อต่อของกระดูกและกล้ามเนื้อของปลา ทำให้สามารถเคลื่อนไหวครีบในแต่ละส่วนของลำตัวได้อย่างอิสระเสรี ครีบของปลานั้นนอกจากมีหน้าที่ในการเคลื่อนไหวไปมาและการทรงตัวแล้ว ยังทำหน้าที่เกี่ยวกับพฤติกรรมอีกหลายอย่าง เช่นใช้สำหรับการต่อสู้เพื่อป้องกันตัว ใช้ในการผสมพันธุ์และปกป้องอาณาเขตของตัวเอง

ครีบเดี่ยวและครีบคู่ของปลา มีกล้ามเนื้อที่มีลักษณะเป็นมัดเดี่ยวหรือเป็นกลุ่ม สำหรับทำหน้าที่ยกก้ามครีบให้ขึ้นลงในขณะว่ายน้ำ โดยส่วนมากปลาจะใช้กล้ามเนื้อบริเวณลำตัวในการว่ายน้ำ ซึ่งมีปลาอยู่ไม่เกิน 2-3 วงศ์ ที่ใช้ครีบในการว่ายน้ำ

แมวลายกระโดงสูง

หมูกระโดงสูง


ฟิงเกอร์


ปลาปอด




มาเบอร์แคช




ปลาแรด หางแดง





ปลาไหลไฟฟ้า





ซิลเวอร์สแคส



แมวดำกลับหัว




ปลาดุกไฟฟ้า



แมวหางแดง









ปลามังกรเงิน




สำหรับสิ่งมีชีวิตในน้ำส่วนมากจะขับถ่ายของเสียที่มีไนโตรเจนเป็น องค์ประกอบหลัก
ออกมาในรูปของ Ammonia (แอมโมเนีย) ซึ่งเป็นสารประกอบที่ละลายในน้ำและสามารถ
แพร่กระจายไปได้อย่างรวดเร็วต่างกับสัตว์บกที่จะขับถ่ายออกมาในรูปอื่นที่มีความ
สามารถในการแพร่กระจายได้ต่ำกว่า ประกอบกับ Ammonia เป็นสารประกอบที่เป็นพิษต่อสิ่งมีชีวิต
ถ้ามีปริมาณที่มากเกินไป (เกินกว่า 0.02 mg / ลิตร) จึงทำให้ Ammonia เป็นสารประกอบที่ค่อนข้างเป็น
อันตรายเลยทีเดียว
แต่เนื่องจากในตู้เรามีการเซตน้ำและมีแบคทีเรียสำหรับกำจัดของเสียเหล่านี้แล้ว ทำให้
เกิดการเปลี่ยนแปลง Ammonia ( NH3 ) ไปเป็น Nitrite ( NO2 ) โดยแบคทีเรีย
( Nitrifying bacteria ) ซึ่งสารประกอบ Nitrite นี้ก็เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตเช่นกัน
แต่เนื่องจากเราสามารถวัดค่าของ Nitrite ได้ง่ายกว่า Ammonia จึงนิยมวัดปริมาณ
Nitrite แทนเพื่อเป็นดัชนีบ่งชี้ถึงปริมาณของเสียและคุณภาพของน้ำในตู้ของเรามากกว่า

จาก Nitrite ก็จะถูก Nitrifying bacteria เปลี่ยนไปเป็น Nitrate ( NO3 ) ซึ่งเป็นสารประกอบ
ที่ไม่มีพิษต่อสิ่งมีชีวิตแต่ก็มีผลในด้านลบต่อปะการังและมีประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตของสาหร่าย
หรือพืช โดยจะเปลี่ยน กลับไปเป็น โปรตีนในพืชแทน สำหรับ Nitrate อีกส่วนก็จะถูกเปลี่ยนโดย Bacteria
ที่ไม่ใช้อ๊อกซิเจน ซึ่งอาศัยอยู่ในทรายชั้นลึกๆที่มีอ๊อกซิเจนในปริมาณต่ำ ให้กลายเป็นก๊าซ
ไนโตรเจน (N2) เพื่อออกสู่นอกระบบตู้ปลาทะเลของเรา เป็นกระบวนการสุดท้ายในการกำจัด
ของเสียของวงจรไนโตรเจนในตู้ของเรา

จากวงจรไนโตรเจนดังกล่าว จะเห็นได้ว่าการปูทรายหนาๆนั้นมีประโยชน์สำหรับเป็นที่อาศัย
ของแบคทีเรียที่มีประโยชน์ในการเปลี่ยน Nitrate ให้กลายเป็น ก๊าซไนโตรเจนออกนอกระบบ
ซึ่งอาจจะเกิดความไม่สวยงามและเป็นที่หมักหมมสิ่งสกปรกบ้างในพื้นทราย และอาจเห็นก๊าซไนโตรเจน
ที่ถูกกำจัดออกเป็นฟองอากาศใต้พื้นทรายและลอยออกไปที่ผิวน้ำ ซึ่งยิ่งทรายละเอียดเท่าไหร่ก็จะเพิ่มพื้นที่
ผิวสำหรับให้แบคทีเรียยึดเกาะได้ดีเท่านั้น แต่อาจเกิดปัญหาการฟุ้งกระจายในตู้ได้ ทำให้
น้ำขุ่น ซึ่งผู้เลี้ยงก็ต้องปรับเอาตามความต้องการและวัตถุประสงค์

วงจรไนโตรเจนนั้นมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับการเลี้ยงปลาทะเล
เนื่องจากไนโตรเจนเป็นแร่ธาตุที่เป็นส่วนประกอบของ Protein ซึ่งเป็นองค์ประกอบของสิ่งมีชีวิต และอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ ในขณะเดียวกันของเสียที่ขับถ่ายออกมาหรือเกิดจากการย่อย
สลายซากสิ่งมีชีวิตส่วนมากก็จะอยู่ในรูปของสารประกอบไนโตรเจน
เช่นกัน ซึ่งจะแตกต่างกันไปตามชนิดของสิ่งมีชีวิต เช่น มนุษย์
ขับถ่ายออกมาในรูป Urea , สัตว์ปีกขับถ่ายในรูป Uric acid
เป็นต้น เนื่องจากไนโตรเจนนั้นสัมพันธ์กับระบบการกำจัดของเสีย
ภายในตู้ดังนั้น เราจึงควรมีความรู้เพื่อ เราจะได้จัดการตู้ของเรา
ให้เหมาะสมและเอื้ออำนวยต่อระบบวงจรดังกล่าว
ร้านขายปลาทะเลโดยทั่วไปแล้ว มักจะขายสัตว์ทะเลที่มีสีสันสวยงามหลากหลายชนิด
โดยที่อาจจะไม่มีความรู้ หรือไม่คำนึงเลยว่า สัตว์เหล่านั้นเลี้ยงยากแค่ไหนในระบบปิด
หรือบางชนิดนั้นอาจจะไม่สามารถเลี้ยงได้เลย หรืออาจใกล้สูญพันธุ์ุ๋แล้ว ดังนั้นเพื่อเป็นการ
ป้องกันและร่วมอนุรักษ์ เราจึงควรพิจารณา ว่าสิ่งมีชีวิตชนิดใดที่เราควรนำมาเลี้ยงและไม่ควร
นำมาเลี้ยง เนื่องด้วยหลายๆปัจจัย เพื่อที่เราจะได้ไม่สนับสนุนการค้าขายสัตว์เหล่านั้น
ในท้องตลาด สิ่งที่ไม่ควรนำมาเลี้ยงในตู้ทะเล

ทากทะเล : ทากทะเลเป็นสัตว์ที่มีสีสันสวยงามสะดุดตามาก อีกทั้งยังมีรูปร่างแปลกจนเป็นที่
สะดุดตาสำหรับนักเลี้ยงมือใหม่ ถ้าเราไปตามร้านขายปลาทะเล คนขายมักบอกเราว่า
ทากทะเลเลี้ยงง่าย กินตะไคร่ และัราคาก็ไม่แพงจนเกินไปนัก ทำให้เราหลงกลเอาง่ายๆ
ซึ่งอันที่จริงแล้ว ทากทะเลเป็นสัตว์ที่กินอาหารจำเพาะ เช่นฟองน้ำทะเล ซึ่งหายากและ
อาจมีราคาแพง อีกทั้งยังมีวงจรชีวิตที่สั้น และตายได้ในเวลาไม่นานนัก ดังนั้นเราจึงไม่ควร
สนับสนุนการเลี้ยงทากทะเล

ปลาจิ้มฟันจระเข้ : หรือ Pipe fish เป็นปลาตระกูลเดียวกับม้าน้ำ มีลักษณะลำตัวเรียวยาว
ปากแหลมยาวคล้ายจระเข้ เคลื่อนไหวช้า สีสวยงามและรูปร่างแปลก ซึ่งเป็นสาเหตุให้ปลา
ชนิดนี้กินอาหารยากมาก เพราะมีลักษณะปากที่เล็กจึงกินได้เฉพาะอาหารที่มีขนาดเล็กๆ
เท่านั้น และการเคลื่อนไหวที่้ช้าของมัน ทำให้กินอาหารได้ไม่ทันปลาตัวอื่น ซึ่งส่วนใหญ่
ปลาชนิดนี้มักจะเลี้ยงได้ไม่นานและตายในที่สุด

ปลาผีเสื้อ : ปลาผีเสื้อเป็นปลาที่พบบ่อยมากตามท้องตลาด เป็นปลาที่มีความสวยงาม น่าสนใจ
และดูเหมือนจะเลี้ยงง่าย แต่ที่จริงแล้วเป็นปลาที่เลี้ยงยากและมักจะตายโดยที่ไม่ทราบสาเหตุ
( เปื่อยตาย ) หรืออยู่ๆก็ตาย ซึ่งอาจจะทำให้ติดเชื้อไปกับปลาในตู้อีกหลายๆตัวก็ได้ สาเหตุ
อาจเนื่องจากปลาผีเสื้อมีปากขนาดเล็ก จึงต้องกินอาหารที่จำเพาะ และอาหารหลักของมัน
คือพวกโพลิปของปะการัง ซึ่งอาจทำให้มันขาดสารอาหารที่จำเป็นและตายได้ในตู้ทะเลได้
แต่ก็มีปลาผีเสื้อบางชนิดเท่านั้นที่สามารถเลี้ยงได้ เช่น ผีเสื้อนกกระจิบ เป็นต้น ที่สามารถ
เลี้ยงได้ ซึ่งปลาผีเสื้อชนิดนี้อาจช่วยกิน Aiptesia ซึ่งเป็นอันตรายต่อปะการังในตู้ของเราได้

Aiptesia : เป็น Anemone ชนิดหนึ่ง มีขนาดเล็ก สีน้ำตาล ใสๆ มักติดมากับก้อนหินและ
สามารถแพร่พันธุ์ได้รวดเร็ว แทบทุกสภาวะ ทำให้ขยายพันธุ์ในตู้อย่างรวดเร็ว และเนื่องจาก
มันมีพิษต่อปะการังชนิดอื่น จึงทำให้ปะการังชนิดอื่นเหี่ยวและตายได้ ซึ่งส่วนมาก คนเลี้ยง
มือใหม่มักจะไม่รู้ นึกว่าเป็นปะการังธรรมดาและอาจถูกร้านค้าหลอกได้ ซึ่งเราสามารถ
กำจัดได้โดย ปลาผีเสื้อนกกระจิบ และ กุ้งเปปเปอร์มินต์ หรือใช้น้ำร้อนฉีดที่ตัวมัน แต่ไม่ควร
ใช้วิธีทำให้มันขาด เพราะจะทำให้มันยิ่งขยายพันธุ์

กั้ง : จริงๆแล้วกั้งเป็นสัตว์ที่เลี้ยงง่าย แต่เนื่องจากกั้งกินปลา และสามารถโตได้จนมีขนาดใหญ่
จึงไม่แนะนำให้เลี้ยงรวมกับปลา ซึ่งบางทีเราอาจจะเห็น กั้งตั๊กแตน ที่มีสีสันสวยงามในร้าน
ขายปลาทะเล แล้วอาจจะซื้อมาโดยที่ไม่รู้ก็ได้ ซึ่งสัตว์ที่เลี้ยงง่ายแต่เป็นอันตรายต่อปลา
ก็มีอีก เช่น ปู ปลาหมึก หรือ กุ้งมังกร เป็นต้น ซึ่งเหล่านี้ควรเลี้ยงแยกตู้หรือเลี้ยงใน
ตู้เฉพาะเท่านั้น

ม้าน้ำ : พบเห็นได้บ่อยๆ ในร้านขายปลาทะเล ซึ่งจริงๆแล้วม้าน้ำไม่ใช่ว่าจะเลี้ยงไม่ได้ แต่
อาจจะเลี้ยงยากสักหน่อย เพราะม้าน้ำนั้นเชื่องช้า โดนปลาอื่นแย่งกินอาหารได้ง่าย จึงไม่ควร
เลี้ยงรวมกับปลาชนิดอื่น ควรจะเลี้ยงในตู้เฉพาะที่มีลักษณะทรงสูง และเนื่องจากม้าน้ำ
มีปากที่เล็ก จึงกินอาหารได้จำกัด ( กินแต่ไรทะเลอาจ ได้สารอาหารไม่เพียงพอ )
เช่น อาร์ทีเมีย เป็นต้น และมักจะพบปัญหาไม่ยอมกินอาหาร ซึ่งส่วนมากม้าน้ำมักจะตาย
เนื่องจากขาดอาหารนั่นเอง แต่โดยรวมแล้วสามารถเลี้ยงได้ง่ายกว่าปลาตระกูล Pipe fish

sea apple : เป็นสัตว์ทะเลที่มีสีสันสวยงามและมีรูปร่างประหลาด ซึ่งสาเหตุที่ทำให้เลี้ยง
สัตว์ชนิดนี้ไม่รอดเนื่องจาก มันกินแพลงตอนจำนวนมาก ซึ่งเป็นไปได้ยากที่จะให้ได้ในตู้ทะเล
เนื่องจากอาจทำให้น้ำเน่าเสียได้ จึงมักจะตายเพราะขาดอาหาร และเมื่อมันตายอาจจะทำ
ให้น้ำในตู้เน่าเสียได้จากพิษที่มันปล่อยออกมา้ซึ่งเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตอื่นๆในตู้ทะเลอีกด้วย

หินเขียว : เป็นปะการังที่มีราคาไม่แพงนัก มีลักษณะเป็นโพลิป มีสีสะท้อนแสงไฟที่สวยงามมาก
แต่เนื่องจากยังไม่มีใครที่เข้าใจถึงสภาวะความต้องการที่แท้จริงของมันได้ จึงเป็นอีกหนึ่ง
สิ่งที่เลี้ยงไม่รอดในระบบปิด เนื่องจากจะค่อยๆตายลงจนหมดก้อนในที่สุด จึงไม่แนะนำให้เลี้ยง

สาหร่ายถั่วงอก : เป็นสาหร่ายสีขาว ปลายเขียว ลักษณะเป็นเส้นหนารวมกันเยอะๆ ราคาไม่แพง
ซึ่งยังไม่ทราบถึงสภาวะที่เหมาะสมกับมัน เพราะเมื่อเลี้ยงไปซักพักจะค่อยๆ ละลายหายไป
จนหมดก้อนและัตายในที่สุด จึงไม่แนะนำให้เลี้ยง

สาหร่ายมู่ลู่ : เป็นสาหร่ายสีเขียวสดสวยงามและเป็นอีกหนึ่งชนิดที่เลี้ยงยากมาก แต่อาจเลี้ยงได้
ในสภาวะที่แสงจัดมากๆ และมีกระแสน้ำพัดที่แรงๆ ซึ่งเมื่อเลี้ยงไปมักจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล
และค่อยๆเหี่ยวตายไปในที่สุด

ปลาทองทะเล : หรือปลาในตระกูลแอนเทียส เป็นปลาเล็กที่มีสีสันสวยงามมาก มักจะอยู่รวมกัน
เป็นฝูงในธรรมชาติและยังเป็นปลาที่มี metabolism สูงมาก คือจะกินและขับถ่ายทั้งวัน
นอกจากนี้ปลาชนิดนี้ยังชอบอยู่ในน้ำเย็นๆอีกด้วย ซึ่งเนื่องจากสภาวะหลายๆอย่าง ทำให้ปลา
ชนิดนี้มักตายในตู้โดยไม่ทราบสาเหตุ คาดว่าอาจมาจากการขาดอาหารที่ไม่สามารถรองรับ
การเผาผลาญของร่างกายได้และสิ่งแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมหลายๆอย่าง

ปลาเซอร์เจี้ยนลาย : เป็นปลาตระกูลแทงค์ชนิดหนึ่งที่ราคาค่อนข้างถูก และสีสันสวยงาม แต่
น่าเสียดายที่มักมีปัญหาไม่กินอาหาร ขี้ตกใจ และมักจะเปื่อยตายไปในที่สุด ดังนั้นจึงไม่แนะนำ
ให้เลี้ยงปลาชนิดนี้เนื่องจากเลี้ยงให้รอดได้ยากภายในระบบปิด

ปลาพยาบาล : รวมถึงปลาตระกูล Wrass อีกหลายๆชนิดที่เลี้ยงยาก และมักจะตายไปโดย
ไม่ทราบสาเหตุ เนื่องจากเป็นปลาที่อ่อนแอ และเป็นโรคง่ายดังนั้นจึงไม่แนะนำให้เลี้่ยง
แม้ว่ามันจะมีราคาถูกก็ตาม

ปลาแมนดาริน : เป็นปลาที่มีหน้าตาแปลก เคลื่อนไหวช้า และปากเล็ก จึงกินอาหารได้จำกัด
โดยปลาชนิดนี้มักกินเฉพาะอาหารสดที่มีขนาดเล็ก ซึ่งเพียงแค่ไรทะเลอาจไม่เพียงพอ
ซี่งตู้ที่สามารถเลี้ยงแมนดารินได้ควรจะเป็นตู้ปลาที่มีขนาดใหญ่และมีหินเป็น เป็นจำนวนมาก
เนื่องจากจะได้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์เล็กๆ เช่น Pod ไว้เป็นอาหารภายในตู้อย่างเพียงพอ
สำหรับตู้เล็กนั้นไม่แนะนำเพราะอาจเกิดปัญหาการขาดอาหารได้เพราะปลาชนิดนี้จะกิน
อาหารตลอดเวลา แต่โดยรวมแล้วถือว่าเป็นปลาที่สามารถเลี้ยงได้ และปัจจุบันสามารถเพาะ
พันธุ์ได้แล้วในระบบปิด

แมงกระพรุน : เป็นสัตว์มีพิษที่เลี้ยงได้ยาก และมีวงจรชีวิตสั้น อาจมีปัญหาเรื่องอาหารและ
ปล่อยพิษเมื่อตาย ดังนั้นจึงไม่แนะนำให้เลี้ยง เนื่องจากเลี้ยงให้รอดได้ยากในระบบปิด

ปะการังเขากวาง : เป็นปะการังโครงแข็งที่สวยงามและบ่งบอกถึงความเป็นทะเลได้มากๆ
แต่ก็เป็นสิ่งมีชีวิตที่เลี้ยงได้ยากมาก ต้องละเอียดอ่อนและมีปัจจัยหลายอย่างที่จะเลี้ยง
เนื่องจากอ่อนไหวกับสภาวะภายในตู้ ต้องการแสงจัดมาก และอุณภูมิที่เย็นมาก ( 24 - 25
องศาเซลเซียส ) ต้องการกระแสน้ำแรง ไม่สามารถเลี้ยงรวมกับปะการังอ่อนได้ ต้องใช้
แคลเซียมในการเลี้ยงสูง ซึ่งจากปัจจัยและความยากในการเลี้ยงหลายๆอย่างนี้ จึงไม่แนะนำ
ให้เลี้ยงปะการังชนิดนี้สำหรับมือใหม่

ช่อสี : เป็นปะการังอ่อนชนิดหนึ่งที่มีสีสันสวยงามมาก ไม่สังเคราะห์แสง จึงจำเป็นที่ต้อง
หาอาหารโดยการจับกินแพลงตอนจำนวนมหาศาลโดยโพลิปเล็กๆที่ยื่นออกมา ชอบน้ำเย็น
กระแสน้ำแรงๆ ซึ่งเป็นไปได้ยากมากสำหรับการเลี้ยงในระบบปิดที่จำกัด เพราะอาจก่อให้
เกิดปัญหาน้ำเสียได้จากปริมาณอาหารที่มาก ในขณะเดียวกันก็มีความต้องการคุณภาพน้ำ
ที่สูงด้วย ดังนั้นจึงไม่แนะนำให้เลี้ยงในตู้ของเรา

ฟองน้ำ : มีหลายสีสันสวยงาม ซึ่งฟองน้ำพวกนี้จะดูดซับเอาสารต่างๆในตู้ของเราทั้งที่ดีและ
ไม่ดีเข้าไปในตัวมัน ซึ่งฟองน้ำพวกนี้ถือว่าเลี้ยงยากมากๆ เพราะต้องห้ามโดนอากาศ และ
ต้องไม่มีการรบกวนโดยตะไคร่ และเมื่ออยู่ๆไปก็จะค่อยๆซีดและตายลง แล้วจะปล่อยเอา
สิ่งที่มันดูดซับไว้ออกมา ทำให้น้ำเสียได้ ซึ่งบางครั้งก็สามารถเลี้ยงฟองน้ำได้ ไม่แน่นอน
แต่ค่อนข้างยาก จึงไม่แนะนำให้เลี้ยง นอกจากฟองน้ำที่เกิดขึ้นเองภายในตู้จะเลี้ยงได้
เพราะเหมือนกับว่ามันปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้แล้ว

ปลาไหลริบบิ้น : เป็นปลาไหลตัวแบนๆที่มีพู่ที่ปลายหัว สีสันสวยงามมีสีเหลือง,สีฟ้า,สีดำ
แตกต่างกันไปตามเพศและวัย เป็นสัตว์ที่หายากและักินอาหารได้ยาก มักจะตายในระบบ
ปิด ดังนั้นเราจึงควรสนับสนุนไม่เลี้ยงและปล่อยให้มันอยู่ในทะเลดีกว่า

ดาวขนนก : เป็นดาวชนิดหนึ่งที่มีรูปร่างคล้ายขนนกกระจาย ออกเป็นพู่ หากินด้วยการดัก
จับแพลงตอนจำนวนมากกินเป็นอาหาร รูปร่างคล้ายกับปะการังที่เคลื่อนที่ได้ แต่เมื่อเลี้ยงไป
เนื่องจากอาหารและสภาวะที่ไม่เหมาะสม ก็จะเริ่มขนร่วงๆไปจนตายไปในที่สุด
ถือว่าเลี้ยงไม่รอดในระบบปิด ดังนั้นจึงไม่ควรนำมาเลี้ยงในตู้ทะเลเรา

ปลาปักเป้า : เป็นปลาที่มีพิษในตัว เคลื่อนไหวช้า และบางพันธุ์มีปากที่เล็กมาก จึงอาจมี
ปัญหาในการกินอาหารไม่ทันเืพื่อน แต่ปักเป้าบางชนิดก็สามารถเลี้ยงได้ไม่ยากนัก เช่น
ปักเป้าหน้าหมา ปักเป้าหนามทุเรียน ซึ่งเมื่อปลาชนิดนี้ตายในตู้แล้วอาจปล่อยพิษ ทำให้
ปลาตัวอื่นๆตายไปด้วย ถือว่าเลี้ยงค่อนข้างยากจึงไม่แนะนำให้เลี้ยง

ถ้วยส้ม : รวมถึงปะการังตระกูลนี้ด้วย เป็นปะการังที่มีสีสันสวยงามมาก ไม่สังเคราะห์แสง
จึงต้องกินอาหารจากโพลิปของมัน ซึ่งจริงๆแล้วถ้วยส้มนั้นเลี้ยงไม่ยากถ้าเรามีความพยายาม
และเอาใจใส่เพราะเราจำเป็นต้องป้อนอาหารสดเช่น กุ้งสับ ให้มันกินที่หนวดของมัน
และให้มันจับเข้าปาก สัปดาห์ละอย่างน้อย 1-2 ครั้ง มิฉะนั้นมันอาจขาดอาหารและ
ค่อยๆตายไปได้ ซึ่งค่อนข้างยุ่งยากและต้องใช้ความขยันพอสมควรในการเลี้ยง

กัลปังหา : เป็นปะการังลักษณะที่แตกกิ่งก้าน สวยงาม ไม่สังเคราะห์แสง และมีโพลิปเล็กๆ
สำหรับจับแพลงตอนจำนวนมากเป็นอาหาร จึงมีปัญหาในการให้อาหารปริมาณที่จำกัด
เนื่องจากต้องรักษาคุณภาพน้ำด้วยคล้ายกับช่อสี ซึ่งเมื่อเลี้ยงไปก็จะค่อยๆตาย จึงไม่แนะนำ
ให้เลี้ยงในระบบปิด

หอย flame scallop : เป็นหอยสีแดงที่มี กระแสไฟฟ้าอยู่ที่ปาก สำหรับใช้จับแพลงตอนหรือ
สิ่งมีชีวิตเล็กๆในทะเลเป็นอาหาร รวมทั้งอาหารเหลว ซึ่งเลี้ยงได้ยากในระบบปิดเนื่องจาก
ความไม่เพียงพอของอาหาร เมื่อเลี้ยงไปกระแสไฟฟ้าจะค่อยๆหายไปและอาจทำให้น้ำ
เน่าเสียได้เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น








เขียนโดย M@my-aquariums
ในท้องตลาดปลาทะเลโดยทั่วไปแล้ว มีปลาทะเลหลากหลายชนิด ให้เราเลือกเลี้ยง
ซึ่งแต่ละชนิดนั้นก็มีความยาก-ง่ายในการเลี้ยงแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับความสามารถ
ในการปรับตัวให้เข้ากับสภาวะแวดล้อมในตู้ทะเลของเรา ส่วนใหญ่ปัญหาที่พบบ่อยสำหรับ
ผู้เลี้ยงปลาทะเลเริ่มต้นคือ ไม่รู้ว่าปลาชนิดไหนเลี้ยงง่าย หรือ เลี้ยงยาก จึงซื้อมาเลี้ยงด้วย
ความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ทำให้เกิดการสูญเสียชีวิต เสียเงิน และเสียกำลังใจในที่สุด ซึ่งสิ่ง
สำคัญที่เราควรตระหนักคือ เราไม่ควรซื้อปลาชนิดนั้นมาเลี้ยงเพราะเห็นว่าเลี้ยงง่าย แต่เมื่อ
เลี้ยงไปนานๆแล้วเบื่อ ก็นำไปไว้ที่อื่น เราควรเลือกซื้อปลาที่เราอยากเลี้ยงจรืงๆ โดยศึกษา
ข้อดี ข้อเสีย ของปลาชนิดนั้นๆว่าเหมาะกับการที่เราจะนำมาเลี้ยงหรือไม่ก่อนที่จะเลี้ยง

สำหรับบทความนี้จะกล่าวถึงปลาทะเลที่เีลี้ยงได้ไม่ยากจนเกินไปนัก เหมาะสำหรับมือใหม่
ซึ่งจะกล่าวถึงข้อดี - ข้อเสีย สำหรับปลาแต่ละตัวไว้สำหรับพิจารณา..

- ปลาตระกูลแดมเซล ( ระดับความง่ายในการเลี้ยง : 10 )
ปลาชนิดนี้ส่วนมากจะมีสีน้ำเงินที่เราพบเห็นตามท้องตลาด มีหลากหลายชนิดทั้ง
แดมเซลหางเหลือง,บลูแดมเซล,เลมอนแดมเซล รวมถึงปลาโดมิโน ซึ่งมีสีดำ
และมีจุดเล็กๆ สีขาว 3 จุดบนตัว และปลาม้าลายที่มีลายขาวสลับดำบนลำตัว

ข้อดี 1.เป็นปลาที่กินอาหารง่ายมาก ทั้งอาหารสำเร็จรูป และ อาหารสด
2.สามารถทนต่อสภาพแวดล้อมได้แทบทุกสภาวะ เลี้ยงง่าย ตายยาก
3.เป็นปลาที่ราคาถูก หาได้ง่าย
4.มีสีสันสวยงาม ฉูดฉาด สะดุดตา

ข้อเสีย 1.เป็นปลาที่ดุมากๆ หวงถื่น ชอบกัดปลาตัวอื่น โดยเฉพาะปลาชนิดเดียวกันอาจ
กัดจนถึงตายได้ ดังนั้นจึงควรเลี้ยงได้ตู้ละ 1 ตัวเท่านั้น ( ข้อเสียมากๆ ) ยกเว้น
นีออนแดมเซลที่ดุน้อยที่สุดและสามารถเลี้ยงได้มากกว่า 1 ตัวในตู้
2.ชอบขุดพื้นเป็นรู ทำให้ทรายฟุ้งกระจาย และอาจทำให้หินในตู้ถล่มได้
3.เป็นปลาที่ว่ายน้ำเร็วมาก หลบเก่ง จึงทำให้จับยากมากเวลาจะเอาออกจากตู้
อาจต้องรื้อหินในตู้ทั้งหมดเพื่อทำการจับออก
4.สำหรับโดมิโนและม้าลายจะโตเร็วมาก และจะยิ่งเพิ่มความดุขึ้นเรื่อย ๆ


- ปลาตะกรับ ( ระดับความง่ายในการเลี้ยง : 10 )
เป็นปลาที่มีหลายชนิด มีหลายสี มีทั้งตะกรับเขียว ตะกรับฟ้า เป็นต้น

ข้อดี 1.เป็นปลาที่กินอาหารง่ายมาก ทั้งอาหารสำเร็จรูป และ อาหารสด
2.สามารถทนต่อสภาพแวดล้อมได้แทบทุกสภาวะ เลี้ยงง่าย ตายยาก โตเร็ว
3.เป็นปลาที่ราคาถูก หาได้ง่าย
4.เป็นปลาที่ไม่ดุร้าย สามารถเลี้ยงเป็นฝูงได้

ข้อเสีย - เป็นปลาที่มีสีสันไม่ฉูดฉาดเท่ากับปลาชนิดอื่น และสีซีดเมื่อโตขึ้น


- ปลาการ์ตูน ( ระดับความง่ายในการเลี้ยง : 8.5 )
เป็นปลาที่นิยมมากที่สุด มีหลายสายพันธุ์ เช่น ปลาการ์ตูนลายปล้อง ปลาการ์ตูนแดง
ปลาการ์ตูนอินเดียนแดง ปลาการ์ตูนมะเขือเทศ เป็นต้น แต่ที่นิยมเลี้ยงส่วนมาก คือ
ปลาการ์ตูนส้ม จากการ์ตูนดัง นีโม เนื่องจากเป็นที่คุ้นตามากกว่า ซึ่งปลาการ์ตูนเป็นปลา
ที่มีลักษณะเฉพาะคือว่ายน้ำบิดไป-มา ทำให้ดูน่ารักเป็นพิเศษ และสามารถเลี้ยงได้
โดยไม่จำเป็นต้องมีดอกไม้ทะเล ( Anemone ) ซึ่งต้องใช้ไฟจัดในการเลี้ยงเท่านั้น
( ไฟ MH หรือหลอดฟลูออเรสเซนต์ 6 หลอดขึ้นไป )

ข้อดี 1.มีรูปร่างน่ารักสวยงาม สีสันฉูดฉาด สะดุดตา
2.เป็นปลาที่กินอาหารง่ายทั้งอาหารสำเร็จรูป และ อาหารสด ( บางตัวอาจต้องหัดกิน
อาหารสำเร็จรูปก่อน )
3.เป็นปลาที่ค่อนข้างทนในหลายๆสภาวะแวดล้อม จัดว่าเลี้ยงง่าย
4. เป็นปลาที่ไม่ดุร้ายกับปลาชนิดอื่น เลี้ยงรวมกับปลาชนิดอื่นได้ ยกเว้น การ์ตูนบางชนิด
5.มีราคาตั้งแต่ถูก ถึง แพง ขึ้นอยุ่ว่านำเข้าหรือไม่ หรืออาจมีลายที่หาพบได้ยาก

ข้อเสีย 1.เป็นปลาที่ชอบถูกจับยามาจากทะเล ทำให้มาตายในตู้เราโดยไม่รู้สาเหตุ
2.สำหรับ ปลาการ์ตูนแดง ปลาการ์ตูนลายปล้อง และปลาการ์ตูนมะเขือเทศ เป็นปลา
ที่ดุร้ายมาก หวงถิ่น มักจะกัดปลาการ์ตูนด้วยกัน นอกเสียจากมันจะจับคู่กันแล้ว
จึงไม่ควรเลี้ยงปลาการ์ตูนหลายๆชนิดในตู้เดียวกัน นอกจากตู้จะใหญ่ และลง
ปลาตามลำดับความดุร้าย จากดุร้ายน้อย ไปมาก


- ปลาตระกูล dottyback ( ระดับความยากในเลี้ยง : 8.5 )
เป็นปลาตัวเล็กที่มีสีสันฉูดฉาด ที่พบมากได้แก่ ปลาสตอเบอรี่ ปลาแพคคาเนลล่า
( หวานเย็น ) ปลาไดเดรียม่า ปลารอยอลแกรมม่า ซึ่งเป็นปลาที่มีสีชมพูทั้งตัว อาจมีสีเหลือง
สลับครึ่งบน ครึ่งล่างแล้วแต่ชนิด

ข้อดี 1.เป็นปลาที่กินอาหารง่ายมาก ทั้งอาหารสำเร็จรูป และ อาหารสด
2. มีสีสันสวยงาม ฉูดฉาด สะดุดตา
3.เป็นปลาที่ราคาไม่แพงมาก ยกเว้น รอยัลแกรมม่าที่มีราคาค่อนข้างสูง
4.เป็นปลาที่ค่อนข้างทนในหลายๆสภาวะแวดล้อม จัดว่าเลี้ยงง่าย แต่ถ้าอุณหภูมิ
เปลี่ยนแปลงบ่อย อาจเป็นจุดขาวได้

ข้อเสีย -เป็นปลาที่ดุมาก หวงถิ่น ชอบกัดปลาตัวอื่น โดยเฉพาะปลาชนิดเดียวกันอาจ
กัดจนถึงตายได้ ดังนั้นจึงควรเลี้ยงได้ตู้ละ 1 ตัวเท่านั้น


- ไฟร์ฟิช ( ระดับความยากในการเลี้ยง : 8 )
เป็นปลาตระกูลโกบี้ ลำตัวยาว มีครีบหลังยาวเป็นเอกลักษณ์ สำหรับอีกชนิดหนึ่งที่พบบ่อยคือ
Purple firefish ซึ่งมีราคาแพงกว่าเล็กน้อย

ข้อดี 1. มีสีสันสวยงาม รูปร่างเป็นเอกลักษณ์
2.เป็นปลาที่กินอาหารง่าย ทั้งอาหารสำเร็จรูป และ อาหารสด
3.สามารถทนสภาวะแวดล้อมต่าง ๆได้ดีพอสมควร แต่ค่อนข้างอ่อนแอในน้ำที่
ไม่มีคุณภาพ
4.เป็นปลาที่นิสัยสงบ ไม่ดุร้าย สามารถเลี้ยงรวมกับปลาชนิดอื่นได้

ข้อเสีย 1.เป็นปลาขี้ตกใจ ถ้าในตู้มีปลาที่ว่ายน้ำเร็วๆ หรือปลาที่ไล่ จะหลบอยู่แต่ในหิน
ไม่ออกมาโชว์ตัว ไม่กินอาหารและอาจกระโดดออกมาจากตู้ทำให้ตายได้
ซึ่งเป็นปัญหาที่พบบ่อยสำหรับการเลี้ยงปลาชนิดนี้ ป้องกันได้โดยการหาฝาปิดตู้
2.อาจดุร้ายต่อปลาชนิดเดียวกันยกเว้นถ้าจับคู่แล้ว จึงแนะนำให้เลี้ยงตู้ละ 1 ตัว
หรืออาจเลี้ยงหลายตัวได้ถ้าตู้ใหญ่และมีที่หลบมากพอ


- ปลาตระกูลเบลนนี่ ( ระดับความง่ายในการเลี้ยง : 8.5 )
เป็นปลาที่มีรูปร่างยาว ชอบว่ายน้ำสลับกับเกาะไปตามหิน ตามพื้น มีหลายพันธุ์ หลายแบบ
ตามร้านขายปลาทะเลทั่วไป

ข้อดี 1.เป็นปลาที่กินอาหารง่าย ทั้งอาหารสำเร็จรูป และ อาหารสด บางชนิดอาจกินตะไคร่
ได้ดี เช่น Bicolour blenny หรือบางชนิดอาจจะกินตะไคร่ตามพื้นทราย
2.สามารถทนสภาวะแวดล้อมต่าง ๆได้ดีและราคาไม่แพงมาก
3.เป็นปลาที่นิสัยสงบ ไม่ดุร้าย สามารถเลี้ยงรวมกับปลาชนิดอื่นได้

ข้อเสีย 1.บางชนิดอาจมีสีสันไม่ค่อยสวยงาม หน้าตาประหลาด
2.อาจดุร้ายกับพวกเดียวกันได้


- ปลาตระกูลโกบี้ ( ระดับความง่ายในการเลี้ยง : 8.5 )
เป็นปลาที่มีหลายสายพันธุ์มากที่เห็นบ่อยได้แก่ แก้วปะการัง, Two spot goby ,
โกบี้บิน , โกบี้ขาว เป็นต้น

ข้อดี 1.เป็นปลาที่กินอาหารง่าย ทั้งอาหารสำเร็จรูป และ อาหารสด บางชนิดอาจกินตะไคร่
ได้ดี เช่น Two spot goby หรือบางชนิดอาจจะกินตะไคร่ตามพื้นทรายโดยการ
อมทรายเ้ข้าไปแล้วปล่อยออกมา
2.สามารถทนสภาวะแวดล้อมต่าง ๆได้ดี
3.เป็นปลาที่นิสัยสงบ ไม่ดุร้าย สามารถเลี้ยงรวมกับปลาชนิดอื่นได้
4.บางชนิดมีสีสันสวยงามและราคามีหลายระดับตั้งแต่ถูกถึงแพง

ข้อเสีย 1.บางชนิดอาจมีสีสันไม่ค่อยสวยงาม หน้าตาประหลาด
2.บางชนิดที่อมทราย จะเป็นการกำจัดสิ่งมีชีวิตเล็กๆที่มีประโยชน์ในทรายและ
อาจจะพ่นทรายฟุ้งในตู้ทำให้น้ำขุ่นและรบกวนปะการัง
3.ดุร้ายกับพวกเดียวกันนอกจากจับคู่แล้ว จึงแนะนำให้เลี้ยงตู้ละ 1 ตัว


- ปลาคาร์ดินัล ( ระดับความง่ายในการเลี้ยง : 7.5 )
ส่วนมากที่พบคือ ปลาคาร์ดินัลลองฟิน ที่มีลายขาวสลับดำและ ปลาคาร์ดินัลตาแดง ซึ่ง
เป็นปลาที่ชอบลอยนิ่งๆอยู่กับที่ ไม่ค่อยว่ายน้ำไปไหน มีลักษณะตาโต สีสันสวยงาม

ข้อดี 1.สามารถทนสภาวะแวดล้อมต่าง ๆได้ดี แต่ถ้าสภาวะเปลี่ยนแปลงมากจะเป็นจุดขาว
และอาจเปื่อยได้
2.เป็นปลาที่นิสัยสงบมาก ไม่ดุร้าย สามารถเลี้ยงรวมกับปลาชนิดอื่นได้และสามารถ
เลี้ยงได้มากกว่า 1 ตัวในตู้ โดยวันๆจะลอยนิ่งอยู่กลางน้ำ
3.มีรูปร่างแปลกเป็นเอกลักษณ์ สวยงาม

ข้อเสีย - ส่วนมากจะกินแต่อาหารสด ไม่ค่อยกินอาหารเม็ด นอกจากจะเลี้ยงไปนานๆ
หรือฝึกให้กิน ซึ่งค่อนข้างเป็นปัญหาเรื่องการให้อาหาร

- ปลาตระกูล Wrasse ( ระดับความยากในการเลี้ยง : 8 )
สำหรับปลาตระกูลนี้บางชนิดก็เลี้ยงยาก เช่น ปลาพยาบาล มีเพียงบางชนิดเท่านั้นที่เลี้ยง
ง่าย เช่น Sixline wrasse, ปลากัดทะเล , แก้วเหลือง , แก้วแดง เป็นต้น ซึ่งเวลานอน
อาจจะมุดทราย หรือ สร้างเมือกขึ้นมาห่อหุ้มตัวเอง

ข้อดี 1.เป็นปลาที่กินอาหารง่าย ทั้งอาหารสำเร็จรูป และ อาหารสด
2.สามารถทนสภาวะแวดล้อมต่าง ๆได้ดี
3.เป็นปลาเล็ก ที่มีสีสันสวยงาม ฉูดฉาดสะดุดตา
4.เป็นปลาที่นิสัยสงบ ไม่ดุร้าย สามารถเลี้ยงรวมกับปลาชนิดอื่นได้รวมทั้งพวกเดียวกัน

ข้อเสีย -เป็นปลาที่ค่อนข้างอ่อนแอในบางภาวะ อาจตายโดยไม่ทราบสาเหตุ



- ปลาสิงโต ( ระดับความง่ายในการเลี้ยง : 8.5 )
เป็นปลาที่มีรูปร่างสวยงามมาก โดดเด่นและสะดุดตา ปลาสิงโตนี้มีหลายพันธุ์แตกต่าง
กันไป ซึ่งเป็นปลาที่แปลกและหาได้ไม่ยาก

ข้อดี 1.เป็นปลาที่ค่อนข้างทนในหลายๆสภาวะแวดล้อม จัดว่าเลี้ยงง่าย
2.เป็นปลาที่มีความสวยงามมากชนิดหนึ่ง มีครีบที่ดูอลังการ
3.มีราคาไม่สูงมากถ้าเทียบกับความสวยงามของมัน

ข้อเสีย 1.เป็นปลาที่ไม่กินอาหารสำเร็จรูป ต้องเลี้ยงด้วยอาหารสด ซึ่งให้เพียงไรทะเล
อาจไม่เพียงพอ อาจต้องให้กุ้งฝอย ซึ่งค่อนข้างยุ่งยาก
2.ไม่สามารถเลี้ยงรวมกับกุ้ง หรือ ปลาขนาดเล็กกว่าปากมันได้ เนื่องจากจะถูก
กินเป็นอาหาร
3.มีพิษที่ครีบ ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อผู้เลี้ยงได้ถ้าเผลอไปโดน


- ปลาตระกูลแทงค์ ( ระดับความง่ายในการเลี้ยง : 7 )
เป็นปลาที่มีหลายพันธุ์ เช่น Blue tang ,Yellow tang ,Purple tang เป็นต้น สำหรับ
ปลาที่แนะนำสำหรับมือใหม่ได้แก่ Brown tang , Baby tang เป็นปลาที่กินเยอะและ
ถ่ายของเสียเยอะ ชอบว่ายน้ำ

ข้อดี 1.เป็นปลาที่กินอาหารง่าย ทั้งอาหารสำเร็จรูป และ อาหารสด นอกจากนี้ยังเป็นปลา
ที่ชอบกินสาหร่ายหรือสามารถให้ผักกาดกินเป็นอาหารได้
2.เป็นปลาที่นิสัยไม่ดุร้าย สามารถเลี้ยงรวมกับปลาชนิดอื่นๆได้
3.เป็นปลาที่มีสีสันสวยงาม สะดุดตา มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว
4.มีหลายราคา ตั้งแต่ ปานกลางไปจนถึงแพง

ข้อเสีย 1.เนื่องจากเป็นปลาที่กินมากและขับถ่ายของเสียมาก จึงจำเป็นที่จะต้องเลี้ยงในตู้
ที่มีขนาดใหญ่เท่านั้น ประกอบกับนิสัยที่ชอบว่ายน้ำไปมาของมันด้วย
2.ตู้ที่เลี้ยงควรเป็นตู้ที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 3 - 6 เดือน เพื่อจะได้มีระบบที่เสถียร
และสามารถรองรับของเสียที่เกิดขึ้นจากตัวปลาได้
3.เป็นปลาที่เป็นจุดขาวง่ายมาก ดังนั้นอุณหภูมิจะต้องเปลี่ยนแปลงน้อยที่สุด



เขียนโดย M@my-aquariums






ในธรรมชาตินั้นปลาทะเลสวยงามส่วนมากมักจะอาศัยอยู่ในบริเวณแนวปะการัง ซึ่งเป็นบริเวณ
ที่อุดมสมบูรณ์ ใช้เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยและแหล่งอาหาร ซึ่งแนวปะการังเหล่านี้จะมีการสร้าง
โครงสร้างหินปูน และีสิ่งมีชีวิตเข้ามาอาศัยอยู่

แนวปะการังนั้นจัดเป็นระบบนิเวศน์ที่มีความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตมากที่สุดแห่งหนึ่งในโลก
ซึ่งปกคลุมพื้นที่ชายฝั่งของโลกถึง 15% สำหรับในประเทศไทยนั้นอาจแบ่งแนวปะการังชายฝั่ง
ได้เป็น 2 แบบ ได้แก่ กลุ่มปะการัง (Coral community) ซึ่งเ้ป็นบริเวณที่ปะการังอาศัยอยู่
ตามพื้นแข็งและไม่มีการสะสมตัวของหินปูนจนเกิดเป็นแนว และ แนวปะการัง (Coral reef)
ซึ่งเป็นบริเวณที่มีการสะสมของโครงร่างหินปูนหรือก้อนปะการังหลายร้อยหลายพันปีจนเกิด
เป็นแนวปะการังในที่สุด ซึ่งสำหรับแนวปะการังนั้นอาจพบได้ตามบริเวณที่ต่อเนื่องไปกับ
ชายหาดหรือไม่ก็ได้ และอาจพบได้ตามกองหินที่อยู่กลางทะเลและมีปะการังมาเกาะ
นอกจากนี้เราอาจพบปะการังอ่อนและกัลปังหาซึ่งไม่มีการสร้างโครงร่างหินปูนขึ้นมาแต่มี
การสร้างแกนภายในหรือแท่งขนาดเล็กเพื่อคงรูปร่างเท่านั้น

สื่งแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับการแพร่พันธุ์ของ
แนวปะการังนั้นเป็นสิ่งที่เราสามารถศึกษาเพื่อ
นำมาประยุกค์ให้เข้ากันกับตู้ทะเลของเรา
เพื่อให้ตู้ทะเลเรามีสภาพแวดล้อมที่คล้ายกับแนว
ปะการังมากที่สุด ถึงแม้ว่าจะไม่มีทางเหมือนกัน
ได้ 100% ก็ตาม เพื่อเป็นการลดความเครียด
ของสิ่งมีชีวิตในตู้และเพิ่มสมดุลของตู้เราให้คล้าย
ระบบนิเวศน์จริงๆอีกด้วย ซึ่งปัจจัยในการ
ดำรงอยู่ของแนวปะการังทางสิ่งแวดล้อมได้แก่...

- อุณหภูมิ ที่เหมาะสมสำหรับการเจริญเติบโตของปะการังอยู่ในช่วง 18-28 องศาเซลเซียส
ซึ่งถือเป็นช่วงอุณหภูมิสำหรับน่านน้ำทะเลในเขตร้อน ดังนั้นเราจึงพบแนวปะการังมากใน
ทะเลเขตร้อนเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งพบได้ตั้งแต่ตอนใต้ของญี่ปุ่นจนถึงตอนใต้ของทวีปออสเตรเลีย
ซึ่งประเทศไทยนั้นถือว่าอยู่ในเขตที่เหมาะสมสำหรับการเจริญเติบโตของปะการังด้วย

- แสง ปะการังถึงแม้ว่าจะเป็นสัตว์ แต่ในเนื้อเยื่อของปะการังประกอบไปด้วยสาหร่ายเซลล์เดียว
Zooxanthellae ซึ่งจำเป็นต้องใช้แสงจัดในการสังเคราะห์แสง เราจึงพบแนวปะการังใน
ธรรมชาติอยู่ในทะเลตื้นๆ หรือตามชายฝั่งที่มีความลึกไม่เกิน 10-20 เมตร และอาจลึกได้ถึง
40-50 เมตร ซึ่งบริเวณที่มีแสงน้อย บริเวณน้ำขุ่นหรือลึกเกินไป ก็จะไม่พบแนวปะการัง
นอกจากจะเป็นกลุ่มปะการังอ่่อน หรือ ปะการังจำพวกที่ไม่สังเคราะห์แสง

- ความเค็ม เราจะไม่พบปะการังในช่วงความเค็มต่ำๆเช่น บริเวณปากแม่น้ำ แต่ก็อาจจะพบได้
บ้าง ซึ่งก็จะมีความหลากหลายทางชีวภาพต่ำ ซึ่งความเค็มทั่วไปที่เหมาะสมคือช่วง
30-36 ส่วนพันส่วน สามารถปรับขึ้น - ลงได้ตามสภาวะต่างๆกันไป

- ตะกอน เป็นผลเสียอย่างมากต่อปะการัง เพราะนอกจากจะทำให้น้ำขุ่นและแสงส่องลงไปได้
น้อยแล้ว เศษตะกอนยังทับถมลงบนปะการัง ซึ่งต้องใช้พลังงานมากในการกำจัดตะกอน
ออกไป นอกจากนี้ยังมีผลทำให้ปะการังขาดอาหารและอ๊อกซิเจน อาจอ่อนแอได้และ
ตายในที่สุด เช่นแนวปะการังที่อ่าวบางเทา จ.ภูเก็ต ได้รับผลกระทบจากตะกอนเหมืองแร่
จนตายเกือบหมด

- คลื่นและกระแสน้ำ ปะการังจำเป็นต้องอยู่ในที่ๆมีกระแสน้ำหมุนเวียนดี เพื่อพัดพาอาหาร
หรือแร่ธาตุมา และพัดพาของเสียต่างๆออกไป แต่ถ้ามีกระแสน้ำที่รุนแรงเกินไปก็
เป็นอันตรายต่อปะการัง

- ธาตุอาหาร ปะการังต้องการแร่ธาตุอาหารในระดับที่เหมาะสม ซึ่งในทะเลจริงนั้นเต็มไปด้วย
แร่ธาตุมากมายหลายชนิดที่จำเป็น ซึ่งต่างกับในตู้ทะเลของเรา โดยที่ปะการังแต่ละชนิดก็
ต้องการแร่ธาตุต่างชนิดกันออกไป เช่นพวกโครงแข็งก็ต้องการแคลเซียมเป็นหลัก เป็นต้น
อย่างไรก็ตามหากมีธาตุอาหารมากจนเกินไป สภาพแวดล้อมอาจเกิดการเปลี่ยนแปลงไป
เช่น เกิดตะไคร่หรือสาหร่ายที่คุกคามแนวปะการัง



เขียนโดย M@my-aquariums
ในท้องตลาดปลาทะเลโดยทั่วไปแล้ว มีปลาทะเลหลากหลายชนิด ให้เราเลือกเลี้ยงซึ่งแต่ละชนิดนั้นก็มีความยาก-ง่ายในการเลี้ยงแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับสภาวะแวดล้อมในตู้ทะเลของเรา ส่วนใหญ่ปัญหาที่พบบ่อยสำหรับผู้เลี้ยงปลาทะเลเริ่มต้นคือ ไม่รู้ว่าปลาชนิดไหนเลี้ยงง่าย หรือ เลี้ยงยาก จึงซื้อมาเลี้ยงด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ทำให้เกิดการสูญเสียชีวิต เสียเงิน และเสียกำลังใจในที่สุด ซึ่งสิ่งสำคัญที่เราควรตระหนักคือ เราไม่ควรซื้อปลาชนิดนั้นมาเลี้ยงเพราะเห็นว่าเลี้ยงง่าย แต่เมื่อเลี้ยงไปนานๆแล้วเบื่อ ก็นำไปไว้ที่อื่น เราควรเลือกซื้อปลาที่เราอยากเลี้ยงจรืงๆ โดยศึกษาข้อดี ข้อเสีย ของปลาชนิดนั้นๆว่าเหมาะกับการที่เราจะนำมาเลี้ยงหรือไม่ก่อนที่จะเลี้ยง
สำหรับบทความนี้จะกล่าวถึงปลาทะเลที่เีลี้ยงได้ไม่ยากจนเกินไปนัก เหมาะสำหรับมือใหม่ซึ่งจะกล่าวถึงข้อดี - ข้อเสีย สำหรับปลาแต่ละตัวไว้สำหรับพิจารณา..- ปลาตระกูลแดมเซล ( ระดับความง่ายในการเลี้ยง : 10 ) ปลาชนิดนี้ส่วนมากจะมีสีน้ำเงินที่เราพบเห็นตามท้องตลาด มีหลากหลายชนิดทั้ง แดมเซลหางเหลือง,บลูแดมเซล,เลมอนแดมเซล รวมถึงปลาโดมิโน ซึ่งมีสีดำ และมีจุดเล็กๆ สีขาว 3 จุดบนตัว และปลาม้าลายที่มีลายขาวสลับดำบนลำตัว ข้อดี 1.เป็นปลาที่กินอาหารง่ายมาก ทั้งอาหารสำเร็จรูป และ อาหารสด 2.สามารถทนต่อสภาพแวดล้อมได้แทบทุกสภาวะ เลี้ยงง่าย ตายยาก 3.เป็นปลาที่ราคาถูก หาได้ง่าย 4.มีสีสันสวยงาม ฉูดฉาด สะดุดตา ข้อเสีย 1.เป็นปลาที่ดุมากๆ หวงถื่น ชอบกัดปลาตัวอื่น โดยเฉพาะปลาชนิดเดียวกันอาจ กัดจนถึงตายได้ ดังนั้นจึงควรเลี้ยงได้ตู้ละ 1 ตัวเท่านั้น ( ข้อเสียมากๆ ) ยกเว้น นีออนแดมเซลที่ดุน้อยที่สุดและสามารถเลี้ยงได้มากกว่า 1 ตัวในตู้ 2.ชอบขุดพื้นเป็นรู ทำให้ทรายฟุ้งกระจาย และอาจทำให้หินในตู้ถล่มได้ 3.เป็นปลาที่ว่ายน้ำเร็วมาก หลบเก่ง จึงทำให้จับยากมากเวลาจะเอาออกจากตู้ อาจต้องรื้อหินในตู้ทั้งหมดเพื่อทำการจับออก 4.สำหรับโดมิโนและม้าลายจะโตเร็วมาก และจะยิ่งเพิ่มความดุขึ้นเรื่อย ๆ
- ปลาตะกรับ ( ระดับความง่ายในการเลี้ยง : 10 ) เป็นปลาที่มีหลายชนิด มีหลายสี มีทั้งตะกรับเขียว ตะกรับฟ้า เป็นต้น ข้อดี 1.เป็นปลาที่กินอาหารง่ายมาก ทั้งอาหารสำเร็จรูป และ อาหารสด 2.สามารถทนต่อสภาพแวดล้อมได้แทบทุกสภาวะ เลี้ยงง่าย ตายยาก โตเร็ว 3.เป็นปลาที่ราคาถูก หาได้ง่าย 4.เป็นปลาที่ไม่ดุร้าย สามารถเลี้ยงเป็นฝูงได้ ข้อเสีย - เป็นปลาที่มีสีสันไม่ฉูดฉาดเท่ากับปลาชนิดอื่น และสีซีดเมื่อโตขึ้น
- ปลาการ์ตูน ( ระดับความง่ายในการเลี้ยง : 8.5 ) เป็นปลาที่นิยมมากที่สุด มีหลายสายพันธุ์ เช่น ปลาการ์ตูนลายปล้อง ปลาการ์ตูนแดง ปลาการ์ตูนอินเดียนแดง ปลาการ์ตูนมะเขือเทศ เป็นต้น แต่ที่นิยมเลี้ยงส่วนมาก คือ ปลาการ์ตูนส้ม จากการ์ตูนดัง นีโม เนื่องจากเป็นที่คุ้นตามากกว่า ซึ่งปลาการ์ตูนเป็นปลา ที่มีลักษณะเฉพาะคือว่ายน้ำบิดไป-มา ทำให้ดูน่ารักเป็นพิเศษ และสามารถเลี้ยงได้ โดยไม่จำเป็นต้องมีดอกไม้ทะเล ( Anemone ) ซึ่งต้องใช้ไฟจัดในการเลี้ยงเท่านั้น ( ไฟ MH หรือหลอดฟลูออเรสเซนต์ 6 หลอดขึ้นไป ) ข้อดี 1.มีรูปร่างน่ารักสวยงาม สีสันฉูดฉาด สะดุดตา 2.เป็นปลาที่กินอาหารง่ายทั้งอาหารสำเร็จรูป และ อาหารสด ( บางตัวอาจต้องหัดกิน อาหารสำเร็จรูปก่อน ) 3.เป็นปลาที่ค่อนข้างทนในหลายๆสภาวะแวดล้อม จัดว่าเลี้ยงง่าย 4. เป็นปลาที่ไม่ดุร้ายกับปลาชนิดอื่น เลี้ยงรวมกับปลาชนิดอื่นได้ ยกเว้น การ์ตูนบางชนิด 5.มีราคาตั้งแต่ถูก ถึง แพง ขึ้นอยุ่ว่านำเข้าหรือไม่ หรืออาจมีลายที่หาพบได้ยาก ข้อเสีย 1.เป็นปลาที่ชอบถูกจับยามาจากทะเล ทำให้มาตายในตู้เราโดยไม่รู้สาเหตุ 2.สำหรับ ปลาการ์ตูนแดง ปลาการ์ตูนลายปล้อง และปลาการ์ตูนมะเขือเทศ เป็นปลา ที่ดุร้ายมาก หวงถิ่น มักจะกัดปลาการ์ตูนด้วยกัน นอกเสียจากมันจะจับคู่กันแล้ว จึงไม่ควรเลี้ยงปลาการ์ตูนหลายๆชนิดในตู้เดียวกัน นอกจากตู้จะใหญ่ และลง ปลาตามลำดับความดุร้าย จากดุร้ายน้อย ไปมาก
- ปลาตระกูล dottyback ( ระดับความยากในเลี้ยง : 8.5 ) เป็นปลาตัวเล็กที่มีสีสันฉูดฉาด ที่พบมากได้แก่ ปลาสตอเบอรี่ ปลาแพคคาเนลล่า ( หวานเย็น ) ปลาไดเดรียม่า ปลารอยอลแกรมม่า ซึ่งเป็นปลาที่มีสีชมพูทั้งตัว อาจมีสีเหลือง สลับครึ่งบน ครึ่งล่างแล้วแต่ชนิด ข้อดี 1.เป็นปลาที่กินอาหารง่ายมาก ทั้งอาหารสำเร็จรูป และ อาหารสด 2. มีสีสันสวยงาม ฉูดฉาด สะดุดตา 3.เป็นปลาที่ราคาไม่แพงมาก ยกเว้น รอยัลแกรมม่าที่มีราคาค่อนข้างสูง 4.เป็นปลาที่ค่อนข้างทนในหลายๆสภาวะแวดล้อม จัดว่าเลี้ยงง่าย แต่ถ้าอุณหภูมิ เปลี่ยนแปลงบ่อย อาจเป็นจุดขาวได้ ข้อเสีย -เป็นปลาที่ดุมาก หวงถิ่น ชอบกัดปลาตัวอื่น โดยเฉพาะปลาชนิดเดียวกันอาจ กัดจนถึงตายได้ ดังนั้นจึงควรเลี้ยงได้ตู้ละ 1 ตัวเท่านั้น
- ไฟร์ฟิช ( ระดับความยากในการเลี้ยง : 8 ) เป็นปลาตระกูลโกบี้ ลำตัวยาว มีครีบหลังยาวเป็นเอกลักษณ์ สำหรับอีกชนิดหนึ่งที่พบบ่อยคือ Purple firefish ซึ่งมีราคาแพงกว่าเล็กน้อย ข้อดี 1. มีสีสันสวยงาม รูปร่างเป็นเอกลักษณ์ 2.เป็นปลาที่กินอาหารง่าย ทั้งอาหารสำเร็จรูป และ อาหารสด 3.สามารถทนสภาวะแวดล้อมต่าง ๆได้ดีพอสมควร แต่ค่อนข้างอ่อนแอในน้ำที่ ไม่มีคุณภาพ 4.เป็นปลาที่นิสัยสงบ ไม่ดุร้าย สามารถเลี้ยงรวมกับปลาชนิดอื่นได้ ข้อเสีย 1.เป็นปลาขี้ตกใจ ถ้าในตู้มีปลาที่ว่ายน้ำเร็วๆ หรือปลาที่ไล่ จะหลบอยู่แต่ในหิน ไม่ออกมาโชว์ตัว ไม่กินอาหารและอาจกระโดดออกมาจากตู้ทำให้ตายได้ ซึ่งเป็นปัญหาที่พบบ่อยสำหรับการเลี้ยงปลาชนิดนี้ ป้องกันได้โดยการหาฝาปิดตู้ 2.อาจดุร้ายต่อปลาชนิดเดียวกันยกเว้นถ้าจับคู่แล้ว จึงแนะนำให้เลี้ยงตู้ละ 1 ตัว หรืออาจเลี้ยงหลายตัวได้ถ้าตู้ใหญ่และมีที่หลบมากพอ
- ปลาตระกูลเบลนนี่ ( ระดับความง่ายในการเลี้ยง : 8.5 ) เป็นปลาที่มีรูปร่างยาว ชอบว่ายน้ำสลับกับเกาะไปตามหิน ตามพื้น มีหลายพันธุ์ หลายแบบ ตามร้านขายปลาทะเลทั่วไป ข้อดี 1.เป็นปลาที่กินอาหารง่าย ทั้งอาหารสำเร็จรูป และ อาหารสด บางชนิดอาจกินตะไคร่ ได้ดี เช่น Bicolour blenny หรือบางชนิดอาจจะกินตะไคร่ตามพื้นทราย 2.สามารถทนสภาวะแวดล้อมต่าง ๆได้ดีและราคาไม่แพงมาก 3.เป็นปลาที่นิสัยสงบ ไม่ดุร้าย สามารถเลี้ยงรวมกับปลาชนิดอื่นได้ ข้อเสีย 1.บางชนิดอาจมีสีสันไม่ค่อยสวยงาม หน้าตาประหลาด 2.อาจดุร้ายกับพวกเดียวกันได้
- ปลาตระกูลโกบี้ ( ระดับความง่ายในการเลี้ยง : 8.5 ) เป็นปลาที่มีหลายสายพันธุ์มากที่เห็นบ่อยได้แก่ แก้วปะการัง, Two spot goby , โกบี้บิน , โกบี้ขาว เป็นต้น ข้อดี 1.เป็นปลาที่กินอาหารง่าย ทั้งอาหารสำเร็จรูป และ อาหารสด บางชนิดอาจกินตะไคร่ ได้ดี เช่น Two spot goby หรือบางชนิดอาจจะกินตะไคร่ตามพื้นทรายโดยการ อมทรายเ้ข้าไปแล้วปล่อยออกมา 2.สามารถทนสภาวะแวดล้อมต่าง ๆได้ดี 3.เป็นปลาที่นิสัยสงบ ไม่ดุร้าย สามารถเลี้ยงรวมกับปลาชนิดอื่นได้ 4.บางชนิดมีสีสันสวยงามและราคามีหลายระดับตั้งแต่ถูกถึงแพง ข้อเสีย 1.บางชนิดอาจมีสีสันไม่ค่อยสวยงาม หน้าตาประหลาด 2.บางชนิดที่อมทราย จะเป็นการกำจัดสิ่งมีชีวิตเล็กๆที่มีประโยชน์ในทรายและ อาจจะพ่นทรายฟุ้งในตู้ทำให้น้ำขุ่นและรบกวนปะการัง 3.ดุร้ายกับพวกเดียวกันนอกจากจับคู่แล้ว จึงแนะนำให้เลี้ยงตู้ละ 1 ตัว
- ปลาคาร์ดินัล ( ระดับความง่ายในการเลี้ยง : 7.5 ) ส่วนมากที่พบคือ ปลาคาร์ดินัลลองฟิน ที่มีลายขาวสลับดำและ ปลาคาร์ดินัลตาแดง ซึ่ง เป็นปลาที่ชอบลอยนิ่งๆอยู่กับที่ ไม่ค่อยว่ายน้ำไปไหน มีลักษณะตาโต สีสันสวยงาม ข้อดี 1.สามารถทนสภาวะแวดล้อมต่าง ๆได้ดี แต่ถ้าสภาวะเปลี่ยนแปลงมากจะเป็นจุดขาว และอาจเปื่อยได้ 2.เป็นปลาที่นิสัยสงบมาก ไม่ดุร้าย สามารถเลี้ยงรวมกับปลาชนิดอื่นได้และสามารถ เลี้ยงได้มากกว่า 1 ตัวในตู้ โดยวันๆจะลอยนิ่งอยู่กลางน้ำ 3.มีรูปร่างแปลกเป็นเอกลักษณ์ สวยงาม ข้อเสีย - ส่วนมากจะกินแต่อาหารสด ไม่ค่อยกินอาหารเม็ด นอกจากจะเลี้ยงไปนานๆ หรือฝึกให้กิน ซึ่งค่อนข้างเป็นปัญหาเรื่องการให้อาหาร
- ปลาตระกูล Wrasse ( ระดับความยากในการเลี้ยง : 8 ) สำหรับปลาตระกูลนี้บางชนิดก็เลี้ยงยาก เช่น ปลาพยาบาล มีเพียงบางชนิดเท่านั้นที่เลี้ยง ง่าย เช่น Sixline wrasse, ปลากัดทะเล , แก้วเหลือง , แก้วแดง เป็นต้น ซึ่งเวลานอน อาจจะมุดทราย หรือ สร้างเมือกขึ้นมาห่อหุ้มตัวเอง ข้อดี 1.เป็นปลาที่กินอาหารง่าย ทั้งอาหารสำเร็จรูป และ อาหารสด 2.สามารถทนสภาวะแวดล้อมต่าง ๆได้ดี 3.เป็นปลาเล็ก ที่มีสีสันสวยงาม ฉูดฉาดสะดุดตา 4.เป็นปลาที่นิสัยสงบ ไม่ดุร้าย สามารถเลี้ยงรวมกับปลาชนิดอื่นได้รวมทั้งพวกเดียวกัน ข้อเสีย -เป็นปลาที่ค่อนข้างอ่อนแอในบางภาวะ อาจตายโดยไม่ทราบสาเหตุ
- ปลาสิงโต ( ระดับความง่ายในการเลี้ยง : 8.5 ) เป็นปลาที่มีรูปร่างสวยงามมาก โดดเด่นและสะดุดตา ปลาสิงโตนี้มีหลายพันธุ์แตกต่าง กันไป ซึ่งเป็นปลาที่แปลกและหาได้ไม่ยาก ข้อดี 1.เป็นปลาที่ค่อนข้างทนในหลายๆสภาวะแวดล้อม จัดว่าเลี้ยงง่าย 2.เป็นปลาที่มีความสวยงามมากชนิดหนึ่ง มีครีบที่ดูอลังการ 3.มีราคาไม่สูงมากถ้าเทียบกับความสวยงามของมัน ข้อเสีย 1.เป็นปลาที่ไม่กินอาหารสำเร็จรูป ต้องเลี้ยงด้วยอาหารสด ซึ่งให้เพียงไรทะเล อาจไม่เพียงพอ อาจต้องให้กุ้งฝอย ซึ่งค่อนข้างยุ่งยาก 2.ไม่สามารถเลี้ยงรวมกับกุ้ง หรือ ปลาขนาดเล็กกว่าปากมันได้ เนื่องจากจะถูก กินเป็นอาหาร 3.มีพิษที่ครีบ ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อผู้เลี้ยงได้ถ้าเผลอไปโดน
- ปลาตระกูลแทงค์ ( ระดับความง่ายในการเลี้ยง : 7 ) เป็นปลาที่มีหลายพันธุ์ เช่น Blue tang ,Yellow tang ,Purple tang เป็นต้น สำหรับ ปลาที่แนะนำสำหรับมือใหม่ได้แก่ Brown tang , Baby tang เป็นปลาที่กินเยอะและ ถ่ายของเสียเยอะ ชอบว่ายน้ำ ข้อดี 1.เป็นปลาที่กินอาหารง่าย ทั้งอาหารสำเร็จรูป และ อาหารสด นอกจากนี้ยังเป็นปลา ที่ชอบกินสาหร่ายหรือสามารถให้ผักกาดกินเป็นอาหารได้ 2.เป็นปลาที่นิสัยไม่ดุร้าย สามารถเลี้ยงรวมกับปลาชนิดอื่นๆได้ 3.เป็นปลาที่มีสีสันสวยงาม สะดุดตา มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว 4.มีหลายราคา ตั้งแต่ ปานกลางไปจนถึงแพงข้อเสีย 1.เนื่องจากเป็นปลาที่กินมากและขับถ่ายของเสียมาก จึงจำเป็นที่จะต้องเลี้ยงในตู้ ที่มีขนาดใหญ่เท่านั้น ประกอบกับนิสัยที่ชอบว่ายน้ำไปมาของมันด้วย 2.ตู้ที่เลี้ยงควรเป็นตู้ที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 3 - 6 เดือน เพื่อจะได้มีระบบที่เสถียร และสามารถรองรับของเสียที่เกิดขึ้นจากตัวปลาได้ 3.เป็นปลาที่เป็นจุดขาวง่ายมาก ดังนั้นอุณหภูมิจะต้องเปลี่ยนแปลงน้อยที่สุด
เขียนโดย M@my-aquariums

รวมสาวสวยมากมาย

ข้อมูลนก

ปลาสวยงาม-ตู้ปลาสวยงาม-ข้อมูลปลาทะเล

อาหารสมอง-วาไรตี้

เรื่องขำขัน

สูตรอาหาร-อาหารน่ากิน-ขนมหวานน่าอร่อย

ภาพปริศนา