google search

Google

สามารถแสดงความคิดเห็นได้ที่นี่เลย

clock

ปฏิทิน

Blog Archive

เทคโนโลยีทันสมัย

ภาพถ่ายนักเรียนน่ารักๆ-วัยรุ่น-นักศึกษา-นางแบบ-ดารา

สาวสวยเซ็กซี่-สาวน่ารัก

วิทยาศาสตร์

รูปแปลก-ภาพแปลก-ภาพขำขำ

เรื่องน่ารู้ทั่วไป

สัตว์บก-สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ -สัตว์น้ำ -สัตว์ปีก -สัตว์เลื้อยคลาน -สัตว์ในวรรณคดี

BlogRoll

7 สิ่งมหัศจรรย์ยุคกลาง

7 สิ่งมหัศจรรย์ยุคปัจจุบัน

จระเข้ประหลาดในยุคครีเตรเซียส

Miami : สวรรค์...หรือดินแดนอาชญากรรม

ไขปริศนาปลาพญานาค

7 สิ่งมหัศจรรย์ยุคโบราณ

การกลับมาของ "อเล็กเซย์" เมื่อราชวงศ์โรมานอฟได้คืนชีพ ?!

ปลาหมึกยักษ์ อสูรร้ายใต้สมุทร

แกะปมปริศนาลำแสงมรณะของอาร์คิมิดีส

ความเชื่อในสิ่งลึกลับ : หมอผีวูดู

นอสตราดามุส ผู้หยั่งรู้ฟ้าดิน

The Witch Hunts : การล่าแม่มด

ตำนานแม่มดแห่งเมือง Blair

flag

free counters

เรียวมะ ซาคาโมโต : บุรุษทรนง

ยอดชู้รักแห่งประวัติศาสตร์

ตำนานมนุษย์หมาป่า

สยามประเทศ ก่อนปรากฏบนแผนที่โลก

การกลับมาของโรคระบาด

ตามหา"ไอ้ตีนโต" มนุษย์วานรดึกดำบรรพ์

มหันตภัยธรรมชาติในอนาคต

มังกรมีจริงหรือเพียงแค่ตำนาน ?

สูตรลึกลับของเครื่องดื่ม โคคา-โคล่า

ปริศนารูปถ่ายของยูนิคอร์น

ภาพถ่ายวิญญาณจากต่างแดน

ภาพถ่ายวิญญาณ (ภาค2)

ภาพถ่ายศพนางเงือก

ปริศนาสามเหลี่ยมเบอร์มิวด้า

ภาพถ่ายวิญญาณ

เรื่องสยองที่ abac

ภาพถ่ายวิญญาณของไทย

ผีในการท่องเที่ยว

ซุปเด็กสุดสยอง

สิ่งก่อสร้างที่น่ามหัศจรรย์ของโลก

ตัวอะไรเนี่ย

photo หน้า...น่าเกลียด

15 โรงแรมแปลก แหวกแนวสุดยอด

''โคลอสเซียม'' : สังเวียนแห่งความตาย

1 วัน ไม่ได้มี 24 ชั่วโมง ( A day is 23 hours 56 minutes 4 seconds )

"นาซ่า"มั่นใจดาวอังคาร เคยมีน้ำ-เดินหน้าหาสิ่งมีชีวิต

ว่าด้วยเรื่องแปลกๆ ของไก่

เปิดตำนานกรุสมบัติวัดราชบูรณะ

อาถรรพณ์ปูโสม : วิญญาณเฝ้าทรัพย์

นักเล่านิทานบันลือโลก

มัมมี่แห่งศตวรรษที่ 21

ไดโนเสาร์สูญพันธุ์เพราะเหตุใด ?

ผู้ติดตาม

friend

วันพุธที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2553





















เสือ" อาจเป็นสิ่งมีชีวิตที่ได้รับความสนใจและถูกกล่าวขานถึงมากที่สุดในปีขาล เพราะจำนวนประชากรเสือที่เหลืออยู่เพียงน้อยนิดจนน่าตกใจและน่าห่วงใยว่าจะสูญพันธุ์ไปในไม่ช้า ทว่าในธรรมชาติยังมีสิ่งมีชีวิตอื่นๆ อีกหลายเผ่าพันธุ์ที่กำลังถูกคุกคามและเสี่ยงต่อกา


ขั้นนำ คำถามทบทวน ความหลากหลายทางชีวภาพ(Biodiversity )คืออะไร
ขั้นกิจกรรมสืบค้น (Discovery Method)
1. นักเรียนศึกษาค้นคว้าหาจากเนื้อหาต่อไปนี้ แล้วเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่าง ทรัพยากรธรรมชาติกับความหลายทางชีวภาพ
2. เมื่อศึกษา ให้นักเรียนวิเคราะห์ว่าเพราะอะไร จำนวนประชากรเสือที่เหลืออยู่เพียงน้อยนิดจนน่าตกใจและน่าห่วงใยว่าจะสูญพันธุ์ไปในไม่ช้า

แหล่งเรียนรู้สำหรับสืบค้น

"เสือ" อาจเป็นสิ่งมีชีวิตที่ได้รับความสนใจและถูกกล่าวขานถึงมากที่สุดในปีขาล เพราะจำนวนประชากรเสือที่เหลืออยู่เพียงน้อยนิดจนน่าตกใจและน่าห่วงใยว่าจะสูญพันธุ์ไปในไม่ช้า ทว่าในธรรมชาติยังมีสิ่งมีชีวิตอื่นๆ อีกหลายเผ่าพันธุ์ที่กำลังถูกคุกคามและเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ไม่น้อยไปกว่าสัตว์ป่าผู้ล่าอันดับสูงสุดของปิรามิดอาหาร
เพราะความล้มเหลวในการรักษาทรัพยากรธรรมชาติและลดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพให้ได้ภายในปี 2010 ตามปฏิญญาที่รัฐบาลประเทศต่างๆ ทั่วโลกได้ให้ไว้เมื่อปี 2002 ทำให้องค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ต้องประกาศให้ปีนี้เป็น "ปีสากลแห่งความหลากหลายทางชีวภาพ" (International Year of Biodiversity) เพื่อปลุกให้คนทั่วโลกตื่นตัวต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และลดอัตราการสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตก่อนที่จะเกินเยียวยามารู้จัก "ความหลากหลายทางชีวภาพ" กันเถอะ

ศ.ดร.วิสุทธิ์ ใบไม้ ผู้อำนวยการโครงการพัฒนาองค์ความรู้และศึกษานโยบายการจัดการทรัพยากรชีวภาพในประเทศไทย (Biodiversity Research and Training Program- BRT) หรือ โครงการบีอาร์ที อธิบายว่า ความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity) เป็นคำใหม่ที่นำมาใช้ทางวิชาการอย่างเป็นทางการในประเทศไทยเมื่อปลายปี 1989 (พ.ศ.2532) ซึ่งหมายถึง ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตทั้งพืช สัตว์ จุลินทรีย์ที่ต่างก็มีความหลากหลายในทุกระดับนับตั้งแต่ยีนหรือพันธุกรรม (ดีเอ็นเอหรืออาร์เอ็นเอ) ถึงระดับความหลากหลายของชนิดหรือสปีชีส์ที่มีความเชื่อมโยงกันเป็นสายใยในระบบนิเวศที่หลากหลายรูปแบบ ซึ่งเป็นผลพวงมาจากกระบวนการวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตบนโลก และกระจายตัวอยู่ทั่วไปบนโลก แต่ส่วนใหญ่กระจุกตัวอยู่ในพื้นที่ป่าเขตร้อนที่มีพื้นที่รวมกันเพียง 7% ของผืนแผ่นดินบนโลก แต่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูงมากอย่างเด่นชัด มีรูปแบบของสิ่งมีชีวิตที่หลากหลายมากถึง 90%
ประเทศไทยอยู่ในชัยภูมิที่อุดมสมบูรณ์มากแห่งหนึ่งของโลก มีสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยให้สรรพชีวิตกำเนิด อยู่อาศัย และแพร่กระจายพันธุ์ ซึ่งประมาณได้ว่าในประเทศไทยมีความหลากหลายของชนิดสิ่งมีชีวิตราว 10% ของโลก มีพันธุ์พืชมากกว่า 15,000 ชนิด มีนกกว่า 930 ชนิด สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมกว่า 300 ชนิด สัตว์เลื้อยคลานอีกว่า 300 ชนิด สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกกว่า 110 ชนิด และปลาอีกกว่า 1,400 ชนิด ทว่า ความหลากหลายของชนิดสิ่งมีชีวิตเหล่านี้กำลังถูกรุกรานจากเพื่อนร่วมโลก คือ มนุษย์

แหล่งภาพ http://www.myfirstbrain

แรดสุมาตราในเขตอุทยานแห่งชาติลัมปุง ประเทศอินโดนีเซีย หนึ่งในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่ตกอยู่ในภาวะใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง สำหรับในประเทศไทย แรดจัดเป็นชนิดพันธุ์ที่ "สูญพันธุ์ในธรรมชาติ" (AFP) "มนุษย์" ต้นเหตุแห่งการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ

"ประเทศไทยเคยมีพื้นที่ป่าประมาณ 70% ของพื้นที่ทั้งหมดของประเทศ ปัจจุบันเหลืออยู่เพียงไม่ถึง 30% สัตว์ป่าที่เคยมีอย่างอุดมสมบูรณ์ ก็ลดจำนวนลงอย่างมาก ที่เป็นเช่นนี้เพราะการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมโดยไม่คำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม" ศ.ดร.วิสุทธิ์ เผยถึงสถานการณ์ในประเทศไทยที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง
ผู้อำนวยการโครงการบีอาร์ทีบอกว่า การพัฒนาประเทศอย่างไม่ยั่งยืนตามแบบทุนนิยมตะวันตก เป็นเหตุให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางสังคมระหว่างคนจนกับคนรวย และก่อให้เกิดปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรงอันเนื่องมาจากการบุกรุกทำลายป่าและการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างหนัก ทั้งทรัพยากรชีวภาพ ถ่านหิน น้ำมัน และแร่ธาตุ จนส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศตามมาอย่างต่อเนื่องและเกิดภัยพิบัติรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ ก่อให้เกิดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ ระบบนิเวศเสียสมดุล และเป็นเหตุให้สิ่งมีชีวิตจำนวนมากต้องสูญพันธุ์ไปในช่วงเวลาแค่ไม่กี่สิบปี

แหล่งภาพ http://www.myfirstbrain

ลีเมอร์ดำตาสีฟ้า (blue-eyed black lemur) หนึ่งในสัตว์ตระกูลไพรเมต 25 สปีชีส์ ที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์มากที่สุด (AFP/IUCN) "หลายชีวิต" เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์

"ปัจจุบันมีเสือเหลืออยู่ในประเทศไทยเพียงไม่ถึง 100 ตัว ซึ่งจัดอยู่ในภาวะที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์อย่างยิ่ง เช่นเดียวกับช้าง พะยูน และโลมา ซึ่งมีจำนวนประชากรลดน้อยลงทุกขณะ ส่วนพืชที่หายากและจัดว่ามีความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ ก็มีหลายชนิด เช่น กันภัยมหิดล ถั่วแปบช้าง และเฟิร์นข้าหลวงหลังขาว เป็นต้น" ผู้อำนวยโครงการบีอาร์ทีแจกแจง

ทั้งนี้ จากรายงาน Living Planet Report 2006 ของดับเบิลยูดับเบิลยูเอฟ (World Wild Fund for Nature: WWF) ที่ทำการสำรวจสถานการณ์ของสิ่งมีชีวิตและความหลากหลายทางชีวภาพทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทยในช่วงปี 1970-2003 พบว่า มีชนิดและสายพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตบนบกสูญพันธุ์ไปแล้วประมาณ 31% สัตว์น้ำจืดที่สูญพันธุ์ไปไม่น้อยกว่า 28% และสัตว์ทะเลที่สูญพันธุ์ไปแล้วกว่า 27%
สำหรับในประเทศไทย สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ได้ทำการศึกษา สำรวจสถานภาพและถิ่นที่อยู่อาศัย รวมทั้งจัดทำฐานข้อมูลของชนิดพันธุ์หายาก ใกล้สูญพันธุ์ และชนิดพันธุ์เฉพาะถิ่นในกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2004 โดยครอบคลุมสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม นก สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก และปลา พบว่ามีอยู่ทั้งสิ้น 4,591 ชนิด ในจำนวนนี้สูญพันธุ์ไปแล้ว 6 ชนิด สูญพันธุ์ในธรรมชาติแล้ว 7 ชนิด และอีก 84 ชนิด ในจำนวนกว่า 500 ชนิด ของชนิดพันธุ์ที่ถูกคุกคาม จัดเป็นชนิดที่ใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง
แหล่งภาพhttp://www.myfirstbrain.com

ลิงทาร์เซียชนิดหนึ่ง (Siau Island tarsier) ในประเทศอินโดนีเซีย ที่อยู่ในจำนวนสัตว์ตระกูลไพรเมต 25 อันดับแรก ที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์อย่างยิ่ง (IUCN) ในปี 2005 สผ.ร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ดำเนินการศึกษาสำรวจ วิเคราะห์สถานภาพพรรณพืชที่พบในประเทศไทย และรวบรวมรายชื่อพืชถิ่นเดียว พืชหายาก พืชมีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์ และพืชใกล้สูญพันธุ์ของประเทศ ได้จำนวน 1,410 ชนิด ใน 137 วงศ์ ได้แก่ เฟิร์น พืชเมล็ดเปลือย พืชใบเลี้ยงเดี่ยว และพืชใบเลี้ยงคู่ พบว่ามี 20 ชนิด ที่อยู่ในสถานะ "ใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง" ส่วนชนิดพันธุ์พืชที่คาดว่าสูญพันธุ์ไปจากถิ่นที่อยู่ในธรรมชาติแล้ว มี 2 ชนิด คือ ฟ้ามุ่ยน้อย (Vanda coerulescens Griff.) และโศกระย้า (Amherstia nobilis Wall.)

"ผืนป่ามรดกโลก" อนุรักษ์ไว้คล้ายยันต์กันผี

แม้ว่าประเทศไทยจะสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพไปแล้วส่วนหนึ่ง แต่ก็ยังมีอีกหลายส่วนที่ได้รับการอนุรักษ์ไว้ได้เป็นอย่างดี เช่น อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร-ห้วยขาแข้ง ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางธรรมชาติ
"ผืนป่ามรดกโลกเป็นแหล่งอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพที่มีคุณค่า แต่การได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกก็เหมือนเป็นแค่ยันต์กันผี กันไม่ให้ถูกทำลายลงไปมากกว่านี้ แต่ถ้าหากเราไม่มีมาตรการการอนุรักษ์อย่างจริงจัง ดูแลไม่ทั่วถึงและไม่ดีพอ และปล่อยให้เสื่อมโทรมลง ก็มีสิทธิ์ถูกถอดออกจากการเป็นมรดกโลกได้เหมือนกัน อย่างกรณีที่มีโครงการตัดถนนผ่านอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ - ปางสีดา หากไม่พิจารณาให้รอบคอบถึงผลดีผลเสีย ก็อาจจะทำให้เขาใหญ่พ้นสภาพจากการเป็นมรดกโลกได้" ศ.ดร.วิสุทธิ์ เผย

แหล่งภาพhttp://www.myfirstbrain.com

เสือโคร่ง เจ้าป่าที่เหลืออยู่เพียงไม่กี่ร้อยตัวในธรรมชาติ (AFP) "เฮือกสุดท้าย" ก่อนสูญสิ้นความหลากหลายทางชีวภาพ

ศ.ดร.วิสุทธิ์ กล่าวว่า การบริหารจัดการความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทยในช่วงที่ผ่านมาไม่สัมฤทธิ์ผลเท่าที่ควร เนื่องจากเรายังไม่รู้จักความหลากหลายทางชีวภาพดีพอ เราไม่รู้ว่าบ้านเรามีอะไรบ้าง และมีมากน้อยเพียงใด เราจึงไม่รู้ว่าเราสูญเสียอะไรไปบ้างแล้ว ยังมีพืช สัตว์ จุลินทรีย์อยู่อีกจำนวนมากที่เรายังไม่รู้จัก ยังไม่มีการค้นพบ
ศ.ดร.วิสุทธิ์ ผู้ก่อตั้งโครงการบีอาร์ทีและพยายามผลักดันการศึกษาวิจัยและพัฒนาบุคลากรด้านความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศไทยมานานถึง 15 ปี กล่าวอีกว่า เราจึงต้องมีการศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพให้มากพอก่อน แล้วจึงกำหนดนโยบายและมาตรการการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์อย่างเหมาะสมและจริงจัง แต่ที่ผ่านมาการกำหนดนโยบายและมาตรการฯ ไม่ได้อยู่บนพื้นฐานของข้อมูลทางวิชาการ มันจึงทำอะไรไม่ได้มากนักอย่างที่ทุกคนอยากเห็น
"การที่ยูเอ็นกำหนดให้ปีนี้เป็นปีสากลแห่งความหลากหลายทางชีวภาพ เหมือนบอกให้รู้ว่านี่เป็น "เฮือกสุดท้าย" ที่เราจะรักษาความหลากหลายทางชีวภาพของโลกไว้ได้" คำบอกกล่าวของ ศ.ดร.วิสุทธิ์ ที่ดูไม่ผิดแผกไปจากที่ ศ.บ็อบ วัตสัน (Prof. Bob Watson) อดีตประธานคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ ไอพีซีซี (IPCC) เคยกล่าวถึงเรื่องนี้ไว้ว่า เราอยู่ในสถานการณ์อันตรายที่เข้าใกล้ "จุดพลิกผันที่มิอาจหวนคืน" (point of no return) มากเข้าไปทุกที



แหล่งภาพhttp://www.myfirstbrain.com

ทูนาครีบน้ำเงินจำนวนมากที่ถูกล่าเพื่อการค้า และเป็นที่หวั่นวิตกว่าปลาชนิดนี้กำลังถูกคุกคามอย่างหนักจากมนุษย์ (AFP)
แหล่งภาพhttp://www.myfirstbrain.com

ลูกช้างไทยที่เกิดในสวนสัตว์ออสเตรเลียเมื่อเดือน ก.ค. 52 ซึ่งช้างเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองของไทย และอยู่ในสถานภาพ "ใกล้สูญพันธุ์" (AFP)


ขั้นสรุปผลการสืบค้น มนุษย์" คือต้นเหตุแห่งการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ
เราจึงต้องมีการศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพให้มากพอก่อน แล้วจึงกำหนดนโยบายและมาตรการการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์อย่างเหมาะสมและจริงจัง แต่ที่ผ่านมาการกำหนดนโยบายและมาตรการฯ ไม่ได้อยู่บนพื้นฐานของข้อมูลทางวิชาการ มันจึงทำอะไรไม่ได้มากนักอย่างที่ทุกคนอยากเห็น

จากการศึกษาครั้งนี้ นักเรียนหรือผู้สืบค้น จะมีวิธีช่วยการลดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพได้อย่างไร



ที่มาข้อมูล : ASTV ผู้จัดการออนไลน์
วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2553 (http://www.myfirstbrain.com)

0 ความคิดเห็น:

รวมสาวสวยมากมาย

ข้อมูลนก

ปลาสวยงาม-ตู้ปลาสวยงาม-ข้อมูลปลาทะเล

อาหารสมอง-วาไรตี้

เรื่องขำขัน

สูตรอาหาร-อาหารน่ากิน-ขนมหวานน่าอร่อย

ภาพปริศนา