google search

Google

สามารถแสดงความคิดเห็นได้ที่นี่เลย

clock

ปฏิทิน

Blog Archive

เทคโนโลยีทันสมัย

ภาพถ่ายนักเรียนน่ารักๆ-วัยรุ่น-นักศึกษา-นางแบบ-ดารา

สาวสวยเซ็กซี่-สาวน่ารัก

วิทยาศาสตร์

รูปแปลก-ภาพแปลก-ภาพขำขำ

เรื่องน่ารู้ทั่วไป

สัตว์บก-สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ -สัตว์น้ำ -สัตว์ปีก -สัตว์เลื้อยคลาน -สัตว์ในวรรณคดี

BlogRoll

7 สิ่งมหัศจรรย์ยุคกลาง

7 สิ่งมหัศจรรย์ยุคปัจจุบัน

จระเข้ประหลาดในยุคครีเตรเซียส

Miami : สวรรค์...หรือดินแดนอาชญากรรม

ไขปริศนาปลาพญานาค

7 สิ่งมหัศจรรย์ยุคโบราณ

การกลับมาของ "อเล็กเซย์" เมื่อราชวงศ์โรมานอฟได้คืนชีพ ?!

ปลาหมึกยักษ์ อสูรร้ายใต้สมุทร

แกะปมปริศนาลำแสงมรณะของอาร์คิมิดีส

ความเชื่อในสิ่งลึกลับ : หมอผีวูดู

นอสตราดามุส ผู้หยั่งรู้ฟ้าดิน

The Witch Hunts : การล่าแม่มด

ตำนานแม่มดแห่งเมือง Blair

flag

free counters

เรียวมะ ซาคาโมโต : บุรุษทรนง

ยอดชู้รักแห่งประวัติศาสตร์

ตำนานมนุษย์หมาป่า

สยามประเทศ ก่อนปรากฏบนแผนที่โลก

การกลับมาของโรคระบาด

ตามหา"ไอ้ตีนโต" มนุษย์วานรดึกดำบรรพ์

มหันตภัยธรรมชาติในอนาคต

มังกรมีจริงหรือเพียงแค่ตำนาน ?

สูตรลึกลับของเครื่องดื่ม โคคา-โคล่า

ปริศนารูปถ่ายของยูนิคอร์น

ภาพถ่ายวิญญาณจากต่างแดน

ภาพถ่ายวิญญาณ (ภาค2)

ภาพถ่ายศพนางเงือก

ปริศนาสามเหลี่ยมเบอร์มิวด้า

ภาพถ่ายวิญญาณ

เรื่องสยองที่ abac

ภาพถ่ายวิญญาณของไทย

ผีในการท่องเที่ยว

ซุปเด็กสุดสยอง

สิ่งก่อสร้างที่น่ามหัศจรรย์ของโลก

ตัวอะไรเนี่ย

photo หน้า...น่าเกลียด

15 โรงแรมแปลก แหวกแนวสุดยอด

''โคลอสเซียม'' : สังเวียนแห่งความตาย

1 วัน ไม่ได้มี 24 ชั่วโมง ( A day is 23 hours 56 minutes 4 seconds )

"นาซ่า"มั่นใจดาวอังคาร เคยมีน้ำ-เดินหน้าหาสิ่งมีชีวิต

ว่าด้วยเรื่องแปลกๆ ของไก่

เปิดตำนานกรุสมบัติวัดราชบูรณะ

อาถรรพณ์ปูโสม : วิญญาณเฝ้าทรัพย์

นักเล่านิทานบันลือโลก

มัมมี่แห่งศตวรรษที่ 21

ไดโนเสาร์สูญพันธุ์เพราะเหตุใด ?

ผู้ติดตาม

friend

วันพุธที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2553



นกหกเล็กปากแดง
ชื่อสามัญ Indian Hanging Lorikeet
ชื่อวิทยาศาสตร์ Loriculus vernalis
วงศ์ Psittacidae
ลักษณะทั่วไป
มีขนาดเล็กเท่านกกระจอก มีสีเขียวสดทั้งตัว แต่ทางใต้ท้องมีสีเขียวอมเหลืองและสีอ่อนกว่าปีก บนหลังปากและบนตะโพกมีสีแดง ตัวผู้และตัวเมียมีลักษณะต่างกัน ตัวผู้ใต้คอมีสีฟ้า แต่ตัวเมียมีสีเขียว ชอบบินสูงระดับยอดไม้ มักได้ยินเสียงมากกว่าเห็นตัว ร้องเสียงดัง "สี่สิบ สี่สิบ"
ถิ่นที่อยู่อาศัย
จีน, อันดามันส์, พม่า, ชวา, ฮ่องกง, ตังเกี๋ยและไทย สำหรับประเทศไทย มีอยู่ตามป่าทั่วไปยกเว้นทางภาคใต้





นกแสก
ชื่อสามัญ Barn Owl
ชื่อวิทยาศาสตร์ Tyto alba
วงศ์ Tytonidae

ลักษณะทั่วไป
ตัวผู้และตัวเมียมีลักษณะคล้ายกัน มีวงหน้าเป็นรูปหัวใจ และมีขนสีขาวขึ้นอยู่เต็มไปหมด ตากลมดำโต ทางด้านท้องมีสีขาว และมีจุดมีเทาและสีน้ำตาลทั่วไป ขนปีกและหางมีลายขวางสีเหลืองสลับน้ำตาลอ่อน ปากแหลมงุ้ม ขนตัวด้านบนมีสีเหลืองปนน้ำตาล ปนเทา มีจุดสีขาว และสีน้ำตาลทั่วไป เล็บเท้ายาวงุ้มและแหลม เล็บที่นิ้วกลางลักษณะคล้ายฟันเลื่อย เวลาบินร้องเสียง "แสก" ขนาดตัวประมาณ 14 นิ้ว ขายาว มีสายตาและประสาทหูดีมาก กลางวันชอบนอนบนเพดานบ้านหรือที่มุมมืดหลังคาโบสถ์ ชอบกินหนูนา ใต้ตรงที่มันเกาะนอนมักพบซากกระดูกและหนังของหนู หรือเหยื่ออื่นๆที่มันสำรอกคายของแข็งๆที่มันย่อยไม่หมดตกลงไปกองอยู่บนพื้นดิน ก้อนที่มันสำรอกคลายทิ้งนี้ดูคล้ายกับก้อนข้าวเม่าทอด ออกหากินในเวลากลางคืน ชาวบ้านถือกันว่า หากมันไปเกาะอยู่บนหลังคาบ้านใคร จะทำให้เกิดเรื่องไม่ดี จะมีคนเจ็บคนตาย รุ่งเช้าจะต้องทำบุญตักบาตรเพื่อล้างเคราะห์ เรื่องนี้ไม่มีข้อพิสูจน์ว่าจริงหรือเท็จ นกแสกนี้ผสมพันธุ์ตลอดปี ยกเว้นฤดูฝน ปกติจะไม่สร้างรัง แต่จะอาศัยอยู่ตามโพรงไม้ ช่องเจดีย์ คาบเอาเศษหญ้ามาปูรองพื้นไว้สำหรับวางไข่ ครั้งละ 4 -7 ฟอง ระยะฟักไข่ประมาณ 30 วันจึงออกเป็นตัว

ถิ่นที่อยู่อาศัย
อินเดีย, อันดามันส์, ชวา, พม่า, เขมร, เวียดนาม, โคชินไชนา, ลาวและไทย สำหรับประเทศไทย มีอยู่ทางภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคอีสาน ภาคตะวันออกเฉียงใต้




นกศิวะหางสีน้ำตาล
ชื่อสามัญ Chestnut-tailed Siva
ชื่อวิทยาศาสตร์ Minla strigula
วงศ์ -

ลักษณะทั่วไป
เป็นนกที่มีขนาดปานกลาง ตัวผู้และตัวเมียเหมือนกัน ทางด้านบนของตัวมีสีเขียวมะกอก ด้านล่างมีสีอ่อนกว่าบนหลัง รอบตามีสีเหลือง หางและปีกบางส่วนมีสีน้ำตาลแกมแดง หน้าผากมีสีน้ำตาลแดง ที่คอมีลายขวางสีดำ

ถิ่นที่อยู่อาศัย
เทือกเขาหิมาลัย, จีน, มาเลเซีย, ตังเกี๋ย, ลาวและไทย สำหรับในประเทศไทยมีอยู่ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือ




นกยอดหญ้าสีเทา
ชื่อสามัญ Grey Bushchat
ชื่อวิทยาศาสตร์ Saxicola Ferrea
วงศ์ Turdidae

ลักษณะทั่วไป
คล้ายวงศ์นกกระจ้อย นกกระจิ๊ด (Warbler) และวงศ์นกจับแมลง (Flycatchers) เป็นนกขนาดเล็ก ปราดเปรียว จงอยปากเล็กบางและตรง เท้าเล็กแข็งแรง แข้งยาวกว่าสองวงศ์หลังเล็กน้อย ตัวผู้ตัวเมียลักษณะใกล้เคียงกัน ที่ต่างจากสองวงศ์ดังกล่าวนี้ ก็คือ ลูกนกที่ยังโตไม่เต็มวัยจะมีขนเป็นลายจุดๆ ทั่วโลกมีนกวงศ์ Turdidae อยู่ 316 ชนิด ในเมืองไทยมีรายงานพบ 49 ชนิด นกวงศ์นี้ยังแบ่งย่อยได้อีก 7 - 8 เหล่า อาทิ เหล่านกปีกสั้น (Shortwings) เหล่านกเขนน้อย (Robins) เหล่านกยอดหญ้า (Charts) และเหล่านกเดินดง (Typical Thrushes) เป็นต้น นกยอดหญ้าสีเทา มีขนาดผประมาณ 16 ซ.ม. ตัวผู้สีออกเทาๆทั้งตัว คิ้วและใต้คางขาวอมเทา วงรอบตาสีดำเหมือนสวมหน้ากาก ท้องมีสีเทาอ่อนกว่าหลัง ปีกและหางเทาเข้ม นอกฤดูผสมพันธุ์จะออกสีน้ำตาลๆมากกว่าเทา ตัวเมียรูปร่างลักษณะใกล้เคียงกัน แต่สีออกน้ำตาลๆทั้งตัว คิ้วและใต้คางอมขาว ท้องสีจางกว่าหลังและปีก สะโพกสีน้ำตาลอมแดง ส่วนลูกนกยังไม่เต็มวัย จะมีลักษณะคล้ายตัวเมีย ขนออกสีน้ำตาลเป็นจุดๆ

ถิ่นที่อยู่อาศัย
ชอบอาศัยตามทุ่งหญ้าโล่ง ทุ่งนาและป่าละเมาะ สร้างรังวางไข่ในบริเวณพื้นที่สูง ตั้งแต่ 1,600 เมตรขึ้นไป ส่วนหนึ่งที่พบเป็นนกอพยพในฤดูหนาว อีกส่วนหนึ่งเป็นนกประจำถิ่น พบได้ทางภาคเหนือเป็นส่วนใหญ่




นกโพระดกคอสีฟ้าเคราดำ
ชื่อสามัญ Moustached Barbet
ชื่อวิทยาศาสตร์ Megalaima incognita
วงศ์ Capitonidae

ลักษณะทั่วไป
นกชนิดนี้มีลักษณะเด่นคือ จากโคนปากมีแถบเล็กๆ สั้นๆ สีดำ ที่หน้าผากและส่วนหลังของกระหม่อมมีสีแดงสด ตรงกลางกระหม่อมมีสีเขียว ตามตัวและปีกส่วนใหญ่มีสีเขียวสด กินผลไม้ ทำรังวางไข่ในโพรงไม้

ถิ่นที่อยู่อาศัย
เทือกเขาตะนาวศรี, เขมร, ลาว, เวียดนามและไทย สำหรับในประเทศไทย มีทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงใต้




นกพริก
ชื่อสามัญ Bronze-winged Jacana
ชื่อวิทยาศาสตร์ Metopedius indicus. (Latham).
วงศ์ Jacanidae


ลักษณะทั่วไป
ตัวผู้และตัวเมียเหมือนกัน แต่ตัวเมียโตกว่าตัวผู้ สีดำเหลือบเขียวเกือบทั้งตัว หัวดำ อกดำ คิ้วขาวเห็นได้ชัด ปากมีสีเหลือง โคนปากและแผ่นเนื้อหน้าผากสีแดง คล้ายกับคาบพริกไว้ ปีกสีน้ำตาล ขนใต้หางสีน้ำตาลแดง นิ้วตีนและเล็บยาวมากกว่าขาของตัวเอง จึงทำให้เดินบนจอกแหนไม่จม เวลาเดินจะกระดกหางขึ้นเป็นจังหวะเรื่อยไป ชอบอยู่ตามหนองบึงทั่วไป ชอบเดินหากินบนจอกแหน อาหาร คือ ลูกกุ้ง ลูกปลา แมลง หน่อหรือต้นอ่อนของพืชน้ำ ผสมพันธุ์ประมาณเดือนพฤษภาคม - มิถุนายน ทำรังด้วยใบจอกแหน บนแพจอกแหนที่ลอยอยู่ในหนองบึง ตัวเมียวางไข่ครบ 3 - 4 ฟองแล้วก็ปล่อยให้ตัวผู้กกไข่และเลี้ยงลูกอ่อน ส่วนตัวเมียก็ไปทำรังหาคู่ใหม่ต่อไป นกตัวอ่อนสีหัวและคอเป็นสีน้ำตาล
ถิ่นที่อยู่อาศัย
อินเดีย, จีน, สุมาตรา, ชวา, พม่า, เขมร, โคชินไชนา, เวียดนาม, ลาวและไทย สำหรับประเทศไทยมีทุกภาค ยกเว้น ภาคตะวันตกเฉียงใต้ และตะวันออกเฉียงเหนือ




นกพญาปากกว้างท้องแดง
ชื่อสามัญ Black-and-red Broadbill
ชื่อวิทยาศาสตร์ Cybirhynchus macrohynchus
วงศ์ Eurylaimidae
ลักษณะทั่วไป
ตัวผู้และตัวเมียเหมือนกัน มีปากกว้างใหญ่ มีปากบนสีฟ้า ปากล่างสีเหลือง ทีปีกมีแถบสีขาว ขนบนหัว บนหลัง และบนปีกมีสีดำ ด้านล่างของลำตัวมีสีแดงเข้ม

ถิ่นที่อยู่อาศัย
บอร์เนียว, พม่า, มาเลเซีย, สุมาตรา, เขมร, โคชินไชน่า, ไทย, เทือกเขาตะนาวศรี สำหรับในประเทศไทย มีทางภาคใต้ ภาคตะวันตกเฉียงใต้ ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงใต้



นกเป็ดผี
ชื่อสามัญ Little Grebe
ชื่อวิทยาศาสตร์ Podiceps ruficollis
วงศ์ Podicipedidae

ลักษณะทั่วไป
ตัวผู้และตัวเมียเหมือนกัน ดูเผินๆคล้ายนกเป็ดน้ำ ปากแหลมไม่แบนเหมือนนกเป็ดน้ำทั่วไป ตัวเล็กเท่ากำปั้น หางสั้นมาก ตีนไม่แบนอย่างตีนเป็ด นิ้วตีนแบนเป็นพาย ไม่มีแผ่นพังผืดขึงระหว่างนิ้ว แต่จะมีพังผืดแผ่ออกรอบๆนิ้วแต่ละนิ้ว มุมปากมีสีเหลือง ในฤดูร้อนบนหัวและคอ มีสีน้ำตาลแดง ด้านใต้ท้องมีสีมอๆ บนปีกเป็นสีเหลืองจาง ด้านบนของตัวมีสีเทาอมน้ำตาล ชอบดำน้ำไล่กินอาหารตามหนองบึงทั่วไป อยู่เป็นฝูงใหญ่ในฤดูร้อนในอ่างเก็บน้ำหรือบึงใหญ่ๆ ผสมพันธุ์ฤดูฝน จะแยกกันเป็นคู่ๆ ชอบกินลูกกุ้ง ลูกปลา ลูกอ๊อด พืชในน้ำ ทำรังวางไข่บนจอกแหนที่ลอยอยู่เหนือน้ำตามหนองบึง วางไข่ครั้งละ 3 - 6 ฟอง ผลัดกันกกไข่ ราว 3 สัปดาห์ออกเป็นตัว ลูกนกจะตัวลายๆ ระหว่างที่กำลังกกไข่อยู่นั้น ถ้ามีสัตว์ที่ทำอันตรายเข้าไปใกล้ มันจะจิกใบจอกแหนมาปิดไข่ แล้วดำน้ำไปโผล่ดูอยู่ตามกอสวะ

ถิ่นที่อยู่อาศัย
อาฟริกา, ยุโรป, อินเดีย, จีน, ไหหลำ, ไตหวัน, ฟิลิปปินส์, ซุนดาห์, นิวกีนี, โซโลมอน, และประเทศต่างๆทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปเอเชีย สำหรับในประเทศไทย มีประปรายอยู่ทั่วไปทุกภาค




นกจาบคาหัวเขียว
ชื่อสามัญ Blue-tailed Bee-ester
ชื่อวิทยาศาสตร์ -
วงศ์ Meropidac

ลักษณะทั่วไป
ทั้งตัวผู้และตัวเมียเหมือนกัน ปากสีดำไม่โค้งแหลมมากนัก หัวหลังและขนคลุมหลังตลอดจนปีกเป็นสีเขียวครึ่งของหลัง ขนคลุมโคนหางและหางเป็นสีน้ำเงิน มีขนคู่กลางของหางแหลมยื่นยาวออกไปประมาณครึ่งหนึ่งของหาง บริเวณแถบหน้าของตาและหลังของตาเป็นแถบสีดำ ม่านตาสีน้ำตาลแดง ถัดขอบตาลงมาเป็นสีขาวอมเหลือง ใต้คอเลยหน้าอกนิดๆเป็นสีน้ำตาล ท้องสีเขียวอ่อน ตีนดำ เวลาบินรูปปีกจะมีลักษณะคล้ายรูปสามเหลี่ยม ใต้ปีกเป็นสีน้ำตาล กึ่งบินกึ่งร่อน ขณะบินส่งเสียงร้องกริ๊วๆๆไปด้วย ชาวบ้านจึงชอบเรียก "นกกะติ้ว" ขนาดประมาณ 30 ซม.เมื่อโตเต็มวัยจากปลายปากถึงปลายหาง จะเจาะรูทำรังอยู่ริ่มตลิ่งที่ค่อนข้างสูงชันมีลักษณะดินปนทราย ลึกประมาณ 60 ซม. 90 ซม. วางไข่ประมาณ 2 - 4 ฟอง ทั้งตัวผู้และตัวเมียจะช่วยกันหาอาหารมาป้อนลูก อาหารจะเป็นพวกแมลงที่บินอยู่กลางอากาศ เช่น แมลงปอ ผีเสื้อ จะไม่กินอาหารหรือแมลงที่ตายแล้วหรืออยู่กับที่

ถิ่นที่อยู่อาศัย
เนปาล, อินเดีย, ศรีลังกาและไทย สำหรับประเทศไทยมีทั้งนกอพยพและนกประจำถิ่น ในส่วนบริเวณภาคกลางและริมฝั่งแม่น้ำแควน้อยจะเป็นนกประจำถิ่น แต่สำหรับทางภาคเหนือจะเป็นนกที่อพยพเข้ามาหากิน และผสมพันธุ์ ส่วนภาคอื่นหรือบางส่วนก็จะหากินสักพักแล้วอพยพผ่านไป


นกเค้าจุด
ชื่อสามัญ Spotted Owlet
ชื่อวิทยาศาสตร์ Athene brama
วงศ์ Strigidae

ลักษณะทั่วไป
ตัวผู้และตัวเมียเหมือนกัน ขนด้านบนของตัวมีสีเทาอมน้ำตาลเล็กน้อย มีจุดและทางขาวเล็กๆขวางอยู่ทั่วไป ปีกมีจุดสีดำปนอยู่ด้วย หน้าอกและท้องมีลายขวางเป็นทางเล็กๆสีน้ำตาล ทำรังตามโพรงไม้ หรือใต้หลังคาบ้าน ชอบกินหนู

ถิ่นที่อยู่อาศัย
พม่า, จีน, อิหร่าน, เขมร, โคชินไชน่า, เวียดนาม, ลาวและไทย สำหรับประเทศไทยมีทุกภาค ยกเว้นภาคใต้




นกเค้ากู่, นกฮูก
ชื่อสามัญ Collared Scops Owl
ชื่อวิทยาศาสตร์ Otus sagittatus
วงศ์ Strigidae

ลักษณะทั่วไป
เป็นนกเค้าชนิดเล็ก ขนตามตัวโดยทั่วๆไปมีสีน้ำตาล ม่านตาสีน้ำตาลเข้ม ที่บนหลังมีแถบสีจางพันหลังคอคล้ายปลอกคอ ด้านท้องมีลายเป็นทางเล็กๆสีน้ำตาลอยู่ทั่วไป และเหนือตามีขนยาวตรงขึ้นไปคล้ายหู และมีสีน้ำตาลปนเนื้อ ตัวผู้และตัวเมียมีลักษณะคล้ายกัน มักส่งเสียงร้องเหมือนใครกู่ "วู๊" ชอบอยู่ตามป่า กินตั๊กแตน แลง กิ้งก่า และหนู วางไข่ในโพรงไม้
ถิ่นที่อยู่อาศัย
ไหหลำ, อินเดีย, จีน, ซุนดาห์, ฟิลิปปินส์, ไทย, และทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปเอเชีย สำหรับประเทศไทยมีอยู่ทั่วไปทุกภาค




นกแขกเต้า
ชื่อสามัญ Red-breasted Parakeet
ชื่อวิทยาศาสตร์ Psittacula alexandri
วงศ์ Psittacidae

ลักษณะทั่วไป
มีขนาดเล็ก-กลาง ความยาววัดจากปลายจงอยถึงปลายหาง ประมาณ 35-38 ซ.ม. จงอยปากสั้นและงุ้ม มีปีกแคบและปลายปีกแหลม หางยาวโดยขนคู่ในสุดจะยาวมาก ขาและเท้าแข็งแรง แต่ละเท้ามี 4 นิ้วอยู่ในระดับเดียวกัน ตัวผู้และตัวเมียจะมีสีสันและลักษณะแตกต่างกันเล็กน้อยทั้งสองเพศ สีด้านบนลำตัวสีเขียวเข้ม ด้านล่างสี้ขียวอ่อน บริเวณอกเป็นสีแดง ตัวผู้จงอยปากมีสีแดง หัวสีเทา มีทางสีดำพาดระหว่างตาผ่านหน้าผากและด้านข้างของลำตัว ส่วนตัวเมียจะมีจงอยปากสีดำ หัวสีเทามากกว่าตัวผู้ มีทางพาดสีดำทั้งสองแห่งเช่นเดียวกับตัวผู้ เป็นนกที่มีกิจกรรมต่างๆในตอนกลางคืน บินได้ดีและเร็ว กินผลไม้ต่างๆทั้งผลอ่อนและผลแข็ง ชอบเกาะตามกิ่งไม้ที่มีผล ใช้เท้าจับผลไม้ และใช้จงอยปากจก หรือขบให้ผลไม้แตกแล้วกินเนื้อข้างใน มีความสามารถในการเกาะกิ่งไม้ได้ทุกๆแนวแม้ว่าจะห้อยหัว ขณะบินมักส่งเสียงร้องไปด้วย มีเสียงดังกังวาน ชอบทำรังตามโพรงต้นไม้ต่างๆซึ่งเป็นโพรงที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ หรือโพรงที่สัตว์อื่นทำทิ้งไว้ ทำงรังและวางไข่ในฤดูร้อน ระหว่างเดือนมีนาคม - พฤษภาคม ไข่มีสีขาว แต่ละรังจะมี 3 - 4 ฟอง ลูกนกที่ออกจากไข่ใหม่ๆตาปิดไม่มีขนคลุมร่างกาย พ่อแม่นกจะช่วยกันกกไข่ และหาอาหารมาป้อน อาหารในระยะแรกเป็นแมลงและตัวหนอน พอลูกนกโตพ่อแม่อาจนำผลไม้มาป้อนสลับกับแมลงและตัวหนอน เมื่อลูกนกแข็งแรงและบินได้แล้วก็จะทิ้งรังไปรวมกับฝูงนกตัวอื่นๆ

ถิ่นที่อยู่อาศัย
อินเดีย, หมู่เกาะอันดามันส์, จีนตอนใต้, ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำหรับประเทศไทย พบได้ทั่วทุกภาคยกเว้นภาคใต้ ทางตอนใต้พบได้ในเขตป่าเต็งรัง ป่าเบญพรรณ และป่าดิบแล้งทั่วไป จะพบทั้งเป็นคู่และอยู่รวมกันเป็นฝูง




นกขุนแผน
ชื่อสามัญ Red-bellied Blue Magpie
ชื่อวิทยาศาสตร์ Cissa erythrorhyncha
วงศ์ -

ลักษณะทั่วไป
ตัวผู้และตัวเมียเหมือนกัน เป็นนกที่ไม่ค่อยใหญ่นัก แต่มีหางยาวมาก และเป็นนกที่สวยงาม มองเผินๆเห็นเป็นสีฟ้า ปากมีสีแดง หน้าอก หัว และคอมีสีดำ แต่หลังคอและตรงท้ายทอยมีขนสีขาวๆ ด้านบนของตัวและปีกมีสีฟ้าแกมม่วง ขนปลายปีกมีแถบขาวตรงปลาย ขนคลุมโคนหางมีสีม่วง และแถบดำตรงปลาย ขนหางคู่บนยาวกว่าคู่อื่นๆ แลดูหางมีสีฟ้าแกมม่วง และปลายสุดมีสีขาว
ถิ่นที่อยู่อาศัย
ไหหลำ, จีน, เทือกเขาหิมาลัย, ลาว, เขมร, เวียดนามและไทย สำหรับประเทศไทยมีทั่วไปทุกภาค



นกกินปลีหางยาวเขียว
ชื่อสามัญ Green-tailed Sunbird
ชื่อวิทยาศาสตร์ Aethopyga nipalensis
วงศ์ Nectariniidae

ลักษณะทั่วไป
ปากโค้งสีดำเรียวเล็ก ตัวผู้และตัวเมียต่างกัน ตัวเมียขนด้านบนมีสีเขียวไพลหม่นๆ ใต้ท้องมีสีอ่อนกว่าด้านบน ส่วนตัวผู้มีคอสีเขียว หน้าอกส่วนบนมีสีเหลือง ส่วนล่างลงมามีสีแดงสด ท้องมีสีเหลือง บนกระหม่อมเขียว หลังสีน้ำตาลแดงเข้มขนคลุมโคนหาง และขนหางคู่กลางซึ่งยาวกว่าเส้นอื่นๆมีสีเขียว และเป็นมันวาว นกชนิดนี้มีหางค่อนข้างยาว ชอบบินโฉบพริ้วไปมา ใช้จงอยปากที่โค้งและเรียวเล็ก สอดเข้าไปในกรวยของช่อดอกไม้เพื่อดูดน้ำหวาน

ถิ่นที่อยู่อาศัย
เทือกเขาหิมาลัย, ภาคตะวันตกของจีน, พม่า, ลาว, เวียดนามและไทย สำหรับในประเทศไทยมีอยู่ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือ, เหนือ, และภาคใต้(พบที่เขาหลวง จังหวัดนครศรีธรรมราช) ที่อื่นๆเช่น น้ำตกแม่สุรินทร์ จังหวัดแม่ฮ่องสอน, เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอมก๋อย ดอยอ่างขาง ดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่




นกกินปลีดำม่วง
ชื่อสามัญ Purple Sunbird
ชื่อวิทยาศาสตร์ Nectarinia asiatica
วงศ์ Nectariniidae

ลักษณะทั่วไป
ตัวผู้และตัวเมียลักษณะต่างกัน ตัวเมียด้านบนมีสีเขียวไพล ด้านท้องสีเหลือง ส่วนตัวผู้เมื่อดูเผินๆคล้ายมีสีดำ ดูใกล้ๆจะเห็นเป็นสีน้ำเงิน เหลืองม่วง และที่ใต้ปีกแต่ละข้างมีกระจุกขนสีส้มและเหลือง
ถิ่นที่อยู่อาศัย
อินเดีย, เวียดนาม, ลาว, เขมร, พม่า, โคชินไชน่าและไทย ในประเทศไทยพบทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือ ตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันตกเฉียงใต้





นกกาบบัว
ชื่อสามัญ Painted Stork
ชื่อวิทยาศาสตร์ Ibis leucocephalus
วงศ์ Ciconiidae

ลักษณะทั่วไป
มีขนาดตัวประมาณ 40 นิ้ว ปากสีเหลืองอมส้มโค้งลง หน้าสีส้ม ตัวขาวมีลายดำพาดที่หน้าอก ส่วนบนของปีกมีลายดำอมเขียวสะท้อนแสง ขนบริเวณหลังถึงหางมีสีชมพู ปลายหางสีดำ ขายาว ลักษณะเหมือนกันทั้งสองเพศ มักพบอยู่ด้วยกันเป็นคู่ หรือเป็นฝูงตามท้องนา เป็นนกที่ไม่ค่อยคล่องแคล่ว วันๆจะยืนนิ่งๆ หรือไม่ก็เดินช้าๆ เงียบๆ ตามทุ่งนาเพื่อหาปลา หากบกิน เป็นนกที่ไม่ค่อยพบเห็นบ่อยมากนัก ผสมพันธุ์ปลายฤดูฝนจนถึงฤดูหนาว (กันยายน - พฤศจิกายน) ทำรังบนต้นไม้ที่อยู่ใกล้น้ำ หรือในน้ำ สร้างรังด้วยกิ่งไม้สานกันตื้นๆ บุด้วยใบไม้หรือฟาง วางไข่ครั้งละ 3 - 5 ฟอง ไข่มีสีขาว ทั้งตัวผู้และตัวเมียช่วยกันทำงาน
ถิ่นที่อยู่อาศัย
อินเดีย, ศรีลังกา, พม่า, ภาคตะวันตกเฉียงใต้ของจีน, ลาว, เขมร, เวียดนาม, มาเลเซียและไทย สำหรับประเทศไทยมีตั้งแต่ภาคกลางตลอดจนถึงภาคใต้ นกกาบบัวนี้อยู่ในบัญชีสัตว์คุ้มครองประเภทที่ 1




นกกระเรียนพันธุ์ไทย
ชื่อสามัญ Eastern Sarus Crane
ชื่อวิทยาศาสตร์ Grus antigone
วงศ์ Gruidae

ลักษณะทั่วไป
เป็นนกขนาดใหญ่ ตัวผู้และตัวเมียมีลักษณะคล้ายกัน คอยาว ขายาว คอครึ่งบนไม่มีขน เป็นหนังสีแดง ขนตัวสีเทา เวลาบินคอเหยียดยาวไปข้างหน้า ขาเหยียดยาวไปข้างหลัง คล้ายพวกนกสตอร์ก ชอบอยู่เป็นคู่ หรือเป็นฝูงเล็กๆในครอบครัว พ่อแม่และลูกอีกตัวหรือสองตัว ชอบหาปลากินตามบึงหนอง หรือไม่ก็เที่ยวหาตั๊กแตนและสัตว์เล็กกินตามทุ่งนา และบนโคกเนิน บางครั้งก็พบหากินตามทุ่งบนเนินเขาสูง เป็นสัตว์ใจเดียว ไม่หลายใจ ไม่เปลี่ยนหาคู่ใหม่ง่ายๆเหมือนนกอื่นๆ ในต้นฤดูฝนจะเริ่มเลือกคู่ มันจะร้อง "แกร๋ๆ" เต้นและโบกปีกรำไปรอบๆคู่ของมัน น่าดูมาก เวลาที่มันหากินพอตัวหนึ่งร้องแกร๋อีกตัวจะร้องรับต่อทันที เป็นการติดต่อระหว่างกันไม่ให้เหินห่างจากกัน รังทำด้วยเรียวไม้สุมกองไว้บนมูลดินที่สูงพอพ้นน้ำตามริมๆบึง ช่วยกันเลี้ยงลูกอ่อน ถ้าพ่อนกแม่นกเห็นคนหรือสัตว์ร้ายมาใกล้ มันจะร้องแกร๋ ลูกนกจะหมอบนิ่งๆ พ่อแม่จะทำเป็นนกขาหัก ปีกหัก ล่อให้คนตามมันไปให้ห่างลูก

ถิ่นที่อยู่อาศัย
พม่า, ลาว, เขมร, เวียดนามและไทย สำหรับประเทศไทยมีทางภาคกลาง ภาคเหนือ และภาคใต้ นกกระเรียนพันธุ์ไทยนี้เคยสูญพันธุ์จากประเทศไทยไปเมื่อหลายสิบปีก่อน ขณะนี้กำลังได้รับการเพาะพันธุ์และปล่อยสู่ธรรมชาติอีกครั้ง



นกกระทุง
ชื่อสามัญ Spotted-billed Pelecan
ชื่อวิทยาศาสตร์ Pelecanus roseus
วงศ์ Peleganidae

ลักษณะทั่วไป
เป็นนกขนาดใหญ่ มีความยาวจากปากถึงปลายหางประมาณ 52 - 60 นิ้ว เป็นนกน้ำ ขาสั้นใหญ่ ปากยาวแบนข้างใต้มีถุงสีออกม่วงขนาดใหญ่ บริเวณขอบปากบนมีจุดสีน้ำเงินเข้มอยู่เป็นระยะตามความยาวของจงอยปาก ตีนมีพังผืดสีเหลืองขึงเต็มระหว่างนิ้วทุกนิ้วคล้ายเป็ด ม่านตาสีแดง แข้งและเท้าสีเนื้อ สามารถว่ายน้ำได้ดี บินได้สูง ในฤดูผสมพันธุ์ ขนจะเปลี่ยนเป็นสีเทาเงินในช่วงบนของลำตัว ส่วนช่วงล่างจะเป็นสีขาว แต่ถ้าไม่ใช่ฤดูผสมพันธุ์ ปีก หางและส่วนใต้ลำตัว จะมีสีน้ำตาลเช่นเดียวกับนกกระทุงที่ยังไม่โตเต็มที่ ทั้งตัวผู้และตัวเมียรูปร่างและสีสันเหมือนกัน นกกระทุงชอบอยู่เป็นฝูง กินปลา กุ้ง กบ สัตว์เลื้อยคลานเล็กๆเป็นอาหารและหาอาหารด้วยกัน ถ้าตัวใดตัวหนึ่งทำอะไรตัวอื่นจะทำตาม เวลาที่มันอยู่เฉยๆจะหันหน้าไปทางเดียวกันหมด เวลาบินจะหดคอเข้ามา บินกันเป็นแถวเรียงหนึ่ง บางครั้งบินเป็นรูปตัว "วี" (V) ส่วนใหญ่จะบินเป็นรูปขั้นบันไดกว้างๆ รังสร้างด้วยกิ่งไม้ใหญ่ๆวางสานกันบนต้นไม้สูงๆ ขนาดของรังมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 2 ฟุต วางไข่ครั้งละประมาณ 3 ฟอง ไข่มีสีขาว ทั้งตัวผู้และตัวเมียช่วยกันกกไข่ประมาณ 4 - 5 อาทิตย์ จึงฟักเป็นตัว คนยุโรปในยุคกลางเชื่อกันว่านกกระทุงเลี้ยงลูกอ่อนด้วยเลือดของมันเอง โดยใช้ปากเจาะเลือดจากอกของมัน
ถิ่นที่อยู่อาศัย
อินเดีย, จีน, ไหหลำ, ไต้หวัน, ซุนดาห์, ออสเตรเลีย, โซโลมอน, อินโดจีน, ฟิลิปปินส์, แหลมมลายูและไทย ประเทศไทยมีอยู่ทั่วไปทุกภาค ปัจจุบันเป็นนกที่ค่อนข้างพบเห็นยากมาก เคยพบปนอยู่กับฝูงนกปากห่างที่วัดไผ่ล้อม จ.ปทุมธานี



นกกระเต็นใหญ่ปีกสีน้ำตาล
ชื่อสามัญ Brown-Winged Kingfisher
ชื่อวิทยาศาสตร์ Heleyon Amauroptera
วงศ์ Alcidinidae

ลักษณะทั่วไป
ตัวผู้และตัวเมียมีลักษณะเหมือนกัน เป็นนกกระเต็นที่มีขนาดใหญ่วัดขนาดได้ 36 ซ.ม. ปากใหญ่มีสีแดง มีปีกสีน้ำตาลช็อกโกแลต ขนบริเวณลำตัวและหัวออกสีน้ำตาลอมเหลือง บริเวณโคนหางมีสีฟ้า

ถิ่นที่อยู่อาศัย
เป็นนกประจำถิ่นที่หากินในแถบบริเวณป่าชายเลนที่มีความอุดมสมบูรณ์ ส่วนใหญ่จะพบในแถบป่าชายเลนด้านตะวันตก สามารถพบเห็นได้ตลอดทั้งปี




นกกระเต็นหัวดำ
ชื่อสามัญ Black-capped Kingfisher
ชื่อวิทยาศาสตร์ Halcyon pileata
วงศ์ Alcidinidae


ลักษณะทั่วไป
บนหัวและข้างๆแก้มตลอดจนถึงท้ายทอยมีสีดำ โคนปีกและปลายปีกมีสีดำ คางมีสีขาว รอบคอมีสีขาว บนหลัง บนปีกตลอดไปจนถึงบนหางมีสีน้ำเงินสด หน้าอกมีสีน้ำตาลอ่อน และมีสีเข้มขึ้นทางด้านใต้ท้อง ปากใหญ่และมีสีแดงสด ตัวผู้และตัวเมียมีลักษณะเหมือนกัน
ถิ่นที่อยู่อาศัย
ไต้หวัน, ไหหลำ, เกาหลี, ฟิลิปปินส์, อินเดีย, บอร์เนียว, สุมาตรา, ซีลีเบส, พม่า, อันดามันส์, ฮ่องกง, ลาว, เทือกเขาตะนาวศรี, และประเทศต่างๆในแหลมอินโดจีน ในประเทศไทยมีทั่วไปทุกภาค




นกกระเต็นน้อยธรรมดา
ชื่อสามัญ Common Kingfisher
ชื่อวิทยาศาสตร์ Alcedo atthis
วงศ์ Alcidinidae

ลักษณะทั่วไป
ตัวผู้และตัวเมียเหมือนกัน มีปากยาวแต่หางสั้นมาก ส่วนบนของตัวมีสีเขียวแกมฟ้า บนหัวจนถึงท้ายทอยมีลายดำเล็กๆเป็นลายขวางตลอด จากโคนปากมีลายแกมสีน้ำตาลผ่านตาไปจนถึงขนคลุมหู
ถิ่นที่อยู่อาศัย
ควีนแลนด์, ยุโรป, อินเดีย, พม่า, อาฟริกา, จีน, ญี่ปุ่น, เกาหลี, มาเลเซีย, สุมาตรา, ชวา, บอร์เนียว, ฟิลิปปินส์, โซโลมอน, ซุนดาห์, นิวกีนี และไทย สำหรับประเทศไทยมีทั่วไปทุกภาค




นกกระติ๊ดสีอิฐ, นกปากตะกั่ว
ชื่อสามัญ Chestnut Munia
ชื่อวิทยาศาสตร์ Lonchura
วงศ์ Estrilidae


ลักษณะทั่วไป
ขนาดตัวประมาณ 5 นิ้ว ตัวสีน้ำตาลเข้ม หัวและคอดำ ปากสีเทา ส่วนลูกนกจะมีสีน้ำตาล ส่วนใต้ลำตัวสีน้ำตาลอ่อน เวลาบินตีปีกเร็วคล้ายแมลงตัวใหญ่ๆ เป็นนกไม่อยู่นิ่ง วางไข่คราวละ 4 - 8 ฟอง สีขาว ขนาดประมาณ 16 x 11 มม.

รัง
มีลักษณะคล้ายลูกรักบี้ มีทางเข้าด้านข้าง สร้างขึ้นด้วยหญ้าเส้นบางๆ คลุมไว้ด้วยหญ้าเส้นหยาบๆวางอยู่ตามกอหญ้า

ถิ่นที่อยู่อาศัย
ส่วนมากพบนกชนิดนี้อยู่ในภาคกลางของประเทศไทย พบตามทุ่งนา พงหญ้า กินเมล็ดพืช อยู่กันเป็นฝูง เวลาเกาะตามต้นหญ้าและใบหญ้า จะเกาะเรียงกันลงมา





นกกระจาบทอง, เต็งครู
ชื่อสามัญ Golden Weaver
ชื่อวิทยาศาสตร์ Ploceus hypoxanthus
วงศ์ Ploceidae


ลักษณะทั่วไป
นกกระจาบทองในฤดูธรรมดาตัวผู้และตัวเมียจะมีสีลายเหมือนกัน คือ สีพื้นทั่วไปจะเป็นสีน้ำตาล ท้องจะมีสีน้ำตาลอ่อน ปีกและหางจะมีสีน้ำตาลเข้ม ลายขนหัว บนหลัง บนปีก คิ้ว จะเป็นสีน้ำตาลอ่อน ปากจะหนาสีน้ำตาลกว้างและสั้น ส่วนตัวผู้ในฤดูผสมพันธุ์ หัวจนถึงต้นคอ หน้าอกท้องและหลังส่วนโคนหาง จะเป็นสีเหลืองทอง แก้มใต้คอจะเป็นสีดำน้ำตาล ปากเป็นสีเทาเข้มปลายหางขาวนิดๆ ลายบนหลังและบนปีกเป็นสีเหลืองชัดเจน ม่านตาเป็นสีน้ำตาลแดง ตีนสีชมพูอมน้ำตาล

รัง
จะมีลักษณะกลมๆ สอดสานอยู่ระหว่างต้นกก ในกก และใบหญ้าคา เหมือนลูกมะพร้าว มีรูเข้าออกหนึ่งทาง ส่วนใหญ่จะทำรังอยู่ในกอกก โดยเฉพาะกกธูปอยู่กลางหนอง ทำรังจะอยู่เหนือน้ำประมาณเมตรครึ่งถึงสองเมตร

ถิ่นที่อยู่อาศัย
จะอาศัยอยู่ตามพื้นที่ราบลุ่มภาคกลาง รังสิต อยุธยา นครนายก สมุทรปราการ นครปฐม สุพรรณบุรี สิงห์บุรี ชัยนาท จนถึงนครสวรรค์ เป็นนกประจำถิ่นและเฉพาะถิ่น

อดีตและปัจจุบัน
ในอดีตมีอยู่มากมาย แต่ปริมาณก็ยังน้อยกว่านกกระจาบธรรมดา ปัจจุบันนี้หาดูได้น้อยมากถ้าไม่สังเกตจริงๆจะไม่พบ ยังจะพอหาดูได้ในแถบชานเมือง เช่น สองฟากทางถนนสายปทุมธานี-บางไทร, บางบัวทอง-สุพรรณบุรี, วัดตาลเอน, วังน้อย, สามหลั่น เป็นต้น






































































































































รวมสาวสวยมากมาย

ข้อมูลนก

ปลาสวยงาม-ตู้ปลาสวยงาม-ข้อมูลปลาทะเล

อาหารสมอง-วาไรตี้

เรื่องขำขัน

สูตรอาหาร-อาหารน่ากิน-ขนมหวานน่าอร่อย

ภาพปริศนา